Doctor's Search

โรคที่มีความสัมพันธ์กับการปวดประจำเดือน

ธันวาคม 4, 2019

ปวดประจำเดือน ( Dysmenorrhea )
เป็นอาการปวดที่สัมพันธ์กับการมีประจำเดือน แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. การปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ ( Primary Dysmenorrhea)

– เป็นอาการปวดที่สัมพันธ์กับการมีประจำเดือน ปวดบริเวณท้องน้อย และอาจมีปวดร้าวไปบริเวณหลังและต้นขา อาจจะมีอาการปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียนได้
– อาการปวดเริ่มก่อนมีประจำเดือน 1 วัน และช่วงที่มีประจำเดือน โดยจะปวดมากในวันแรกที่มีประจำเดือน และค่อยๆลดลงในวันถัดมา
– จำนวนวันที่ปวด และความรุนแรงของการปวดท้องมักจะเท่าๆกับตอนที่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก (ตอนวัยรุ่น)

2. การปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ ( Secondary Dysmenorrhea )

– เป็นอาการปวดที่สัมพันธ์กับการมีประจำเดือน
– แต่จำนวนวันที่ปวดมากขึ้น เช่น ปวดก่อนมีประจำเดือน 2-3 วัน , ปวดหลังจากมีประจำเดือนทุกวัน, ปวดหลังจากประจำเดือนหยุดแล้วอีกหลายวัน
– ความรุนแรงของการปวด , ความเจ็บปวดรุนแรงมากขึ้น , ต้องทานยาเพิ่มขึ้น
– มีอาการอื่นร่วมด้ย เช่น ปวดเวลาถ่ายอุจจาระตอนมีประจำเดือน, เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์

โรคที่มีความสัมพันธ์กับการปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิได้แก่
1. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ( Endometriosis)

– ปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ , ปวดรุนแรง หลายวัน
– ตรวจภายในพบพังผืด มีจุดกดเจ็บบริเวณด้านหลังมดลูก
– มดลูกคว่ำด้านหลัง
– มีบุตรยาก
– Ultrasound ทางช่องคลอดพบมดลูกคว่ำหลัง

 การรักษา

  1. ยาฮอร์โมน, ยาแก้ปวด
  2. ผ่าตัดเลาะพังผืด

2. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในกล้ามเนื้อมดลูก

– ปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ , ปวดรุนแรงหลายวัน
– ประจำเดือนมามาก เลือดออกเยอะ และนาน
– ตรวจภายใน พบมดลูกโต , มดลูกคว่ำหลัง ,มีจุดกดเจ็บที่มดลูกและด้านหลังมดลูก
– Ultrasound พบมดลูกโต ผนังมดลูกหนา

3. Chocolate cyst หรือ Endometriotic cyst

– ปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ , ปวดรุนแรงหลายวัน , ปวดท้องน้อยด้านซ้าย หรือ ขวา
– ตรวจภายใน พบ มดลูกคว่ำหลัง หนังมดลูกหนา
– Ultrasound พบ มดลูกคว่ำหลัง ถุงน้ำมีรังไข่

 การรักษา

  1. ยาฮอร์โมน, ยาแก้ปวด
  2. ผ่าตัดเลาะถุงน้ำ

เรียบเรียงโดย พญ.ดาราวดี สัทธาพงศ์ ศูนย์สุุขภาพสตรี  โรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอส

Posted in Health Knowledge TH by admin