Doctor's Search

เดือน: ตุลาคม 2020

ตุลาคม 6, 2020


การส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น

เทคนิคพิเศษที่จะตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น โดยจะใช้กล้องที่มีลักษณะยาว เล็ก และโค้งงอได้ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 cm ซึ่งแพทย์จะใส่สายยางเล็กที่มีเลนส์และแสงไฟสว่างที่ปลาย ส่องเข้าไปในปาก ผ่านหลอดอาหารลงไปในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น โดยภาพจะปรากฏบนจอโทรทัศน์ ให้คุณภาพคมชัด และชัดเจน แม่นยำมากกว่าการเอกซเรย์ และหลังจากส่องตรวจเสร็จสามารถทราบผลการตรวจได้ทันที

การส่องกล้องจะทำให้เห็นเยื่อบุกระเพาะ เพื่อดูการอักเสบ ดูแผลในกระเพาะ ดูเนื้องอก นอกจากนั้นยังสามารถตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา หาเซลล์มะเร็ง , เพาะเชื้อเพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย ร่วมไปถึงการส่องกล้องเพื่อรักษาห้ามเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นได้

การส่องกล้องตรวจจะทำในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการดังนี้
– กลืนลำบาก
– อาเจียนเป็นเลือด
– ปวดท้องจุกแน่นลิ้นปี่

การเตรียมตัวก่อนตรวจส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น

– ต้องงดน้ำงดอาหาร 6-8 ชม. ก่อนเข้ารับการตรวจ
– ถ้ามีฟันปลอมชนิดถอดได้ ต้องถอดออกก่อน
– ควรมีญาติมาด้วย

ขั้นตอนในการตรวจ

– ผู้ป่วยจะได้รับยาชาเฉพาะที่บริเวณลำคอและได้รับยาคลายความวิตกกังวลทางหลอดเลือดดำ
– ผู้ป่วยจะต้องนอนตะแคงซ้าย
– แพทย์จะใส่กล้องตรวจเข้าทางปาก โดยให้ผู้ป่วยช่วยกลืนซึ่งจะทำให้การใส่กล้องง่ายขึ้น
– ขณะตรวจ อาจมีน้ำลายไหลออกมา พยาบาลจะทำการดูดน้ำลายให้เป็นระยะๆ

วิธีการปฏิบัติตัว
– หายใจช้าๆ สูดลมหายใจเข้า-ออก ลึกๆ ยาวๆ
– ปล่อยตัวตามสบาย ไม่เกร็ง
– เบี่ยงเบนความสนใจ โดยมองภาพการตรวจบนจอภาพ

การปฏิบัติตัวภายหลังการส่องกล้องตรวจ
– นอนพัก เพื่อสังเกตอาการผิดปกติ ประมาณ 1-2 ชั่วโมง
– ห้ามดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารจนกว่าคอจะหายชา เมื่อคอหายชาแล้ว ให้ทดลองจิบน้ำ ถ้าไม่สำลักจึงดื่มได้
– ให้สังเกตน้ำลายที่บ้วนออกมา อาจมีเลือดปนบ้างเล็กน้อย แต่ถ้ามีเลือดออกมากผิดปกติให้รายงานแพทย์
– ภายหลังการตรวจ อาจมีอาการเจ็บคอ
– ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำ หรืออาหารร้อนๆ
– ควรรับประทานอาหารเหลว หรืออาหารอ่อน รสไม่จัด 2-3 วัน
– ออกกำลังกาย หรือทำงานได้ตามปกติ
– ในรายที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ (ไม่รู้สึกตัวขณะตรวจ ) ห้ามขับรถหรือทำงาน

Posted in Health Knowledge TH by admin