Doctor's Search

Right Sidebar

ธันวาคม 4, 2019

ปวดประจำเดือน ( Dysmenorrhea )
เป็นอาการปวดที่สัมพันธ์กับการมีประจำเดือน แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. การปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ ( Primary Dysmenorrhea)

– เป็นอาการปวดที่สัมพันธ์กับการมีประจำเดือน ปวดบริเวณท้องน้อย และอาจมีปวดร้าวไปบริเวณหลังและต้นขา อาจจะมีอาการปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียนได้
– อาการปวดเริ่มก่อนมีประจำเดือน 1 วัน และช่วงที่มีประจำเดือน โดยจะปวดมากในวันแรกที่มีประจำเดือน และค่อยๆลดลงในวันถัดมา
– จำนวนวันที่ปวด และความรุนแรงของการปวดท้องมักจะเท่าๆกับตอนที่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก (ตอนวัยรุ่น)

2. การปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ ( Secondary Dysmenorrhea )

– เป็นอาการปวดที่สัมพันธ์กับการมีประจำเดือน
– แต่จำนวนวันที่ปวดมากขึ้น เช่น ปวดก่อนมีประจำเดือน 2-3 วัน , ปวดหลังจากมีประจำเดือนทุกวัน, ปวดหลังจากประจำเดือนหยุดแล้วอีกหลายวัน
– ความรุนแรงของการปวด , ความเจ็บปวดรุนแรงมากขึ้น , ต้องทานยาเพิ่มขึ้น
– มีอาการอื่นร่วมด้ย เช่น ปวดเวลาถ่ายอุจจาระตอนมีประจำเดือน, เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์

โรคที่มีความสัมพันธ์กับการปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิได้แก่
1. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ( Endometriosis)

– ปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ , ปวดรุนแรง หลายวัน
– ตรวจภายในพบพังผืด มีจุดกดเจ็บบริเวณด้านหลังมดลูก
– มดลูกคว่ำด้านหลัง
– มีบุตรยาก
– Ultrasound ทางช่องคลอดพบมดลูกคว่ำหลัง

 การรักษา

  1. ยาฮอร์โมน, ยาแก้ปวด
  2. ผ่าตัดเลาะพังผืด

2. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในกล้ามเนื้อมดลูก

– ปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ , ปวดรุนแรงหลายวัน
– ประจำเดือนมามาก เลือดออกเยอะ และนาน
– ตรวจภายใน พบมดลูกโต , มดลูกคว่ำหลัง ,มีจุดกดเจ็บที่มดลูกและด้านหลังมดลูก
– Ultrasound พบมดลูกโต ผนังมดลูกหนา

3. Chocolate cyst หรือ Endometriotic cyst

– ปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ , ปวดรุนแรงหลายวัน , ปวดท้องน้อยด้านซ้าย หรือ ขวา
– ตรวจภายใน พบ มดลูกคว่ำหลัง หนังมดลูกหนา
– Ultrasound พบ มดลูกคว่ำหลัง ถุงน้ำมีรังไข่

 การรักษา

  1. ยาฮอร์โมน, ยาแก้ปวด
  2. ผ่าตัดเลาะถุงน้ำ

เรียบเรียงโดย พญ.ดาราวดี สัทธาพงศ์ ศูนย์สุุขภาพสตรี  โรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอส

Posted in Health Knowledge TH by admin
พฤศจิกายน 28, 2019

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา โรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอส จังหวัดปทุมธานี ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรสวนพริกไทย เจ้าหน้าที่อาสาสมัครมูลนิธิปอเต็กตึ้ง เจ้าหน้าที่อาสาสมัครมูลนิธิร่วมกตัญญู วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องภายในโรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอส ร่วมซักซ้อมแผนเผชิญเหตุมาตราการในการป้องกันและแก้ไขปัญหากลุ่มวัยรุ่นก่อเหตุทะเลาะวิวาทในสถานพยาบาล (เปรียบเสมือนจริง)ที่โรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอส อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

ซ้อมรับมือเหตุทะเลาะวิวาท

Posted in News & Information TH by admin
พฤศจิกายน 15, 2019

งานทอดกฐินสามัคคีและผ้าป่าม้า ประจำปี 2562 วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน 2562 ณ สถานปฏิบัติธรรมป่าปริวาสกรรมหนองโรง (ป่าไผ่) จ.กาญจนบุรี

katin2562

Posted in News & Information TH by admin
พฤศจิกายน 8, 2019

การดูแลสุขภาพสตรีที่ตั้งครรภ์และทารก ดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึงก่อนคลอด ทั้งสุขภาพกายและจิตใจ สตรีที่ตั้งครรภ์ควรรีบพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์ทันที และควรเข้ารับการตรวจครรภ์ตามที่แพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งปฎิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์โดยเคร่งครัด
ประโยชน์ของการฝากครรภ์

  1. คุณแม่และทารกในครรภ์ ได้รับการดูแลและให้คำแนะนำอย่างถูกวิธี ตลอดการตั้งครรภ์จนถึงคลอด
  2. เมื่อคุณแม่รู้สึก ไม่สบายใจ สามารถปรึกษาแพทย์ได้ตลอด
  3. เมื่อคุณแม่มีอาการ ไม่สบายกาย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหลัง ปวดขา ขาบวม ท้องผูก เหนื่อย
  4. แพทย์สามารถดู ตรวจร่างกาย รักษาและให้คำแนะนำได้อย่างรวดเร็ว
  5. ได้รับการตรวจครรภ์เป็นระยะ เพื่อติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และถ้าพบความผิด
  6. ปกติของทารก เช่น น้ำหนักน้อย น้ำคร่ำน้อย รกเกาะต่ำ จะได้รับคำแนะนำและแนวทางการดูแลรักษาอย่างทันที
  7. ได้รับคำแนะนำ วิธีการคลอดอย่างเหมาะสม

การเตรียมตัวก่อนไปฝากครรภ์ครั้งแรก

  1. ข้อมูลการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย โดยนับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย
  2. ประวัติการเจ็บป่วย การแพ้ยา โรคประจำตัว ประวัติความเสี่ยงต่อโรคทางพันธุกรรม
  3. ประวัติการตั้งครรภ์ การแท้งบุตร การคุมกำเนิด หรือการคลอดลูกท้องที่แล้ว ได้แก่ วิธีคลอด อายุครรภ์ น้ำหนักแรกคลอด ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์
  4. ประวัติการฉีดวัคซีนบาดทะยัก

Posted in Health Knowledge TH by admin
ตุลาคม 16, 2019

เมื่อวันที่ 10-11 ตุลาคม 2562 โรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอส ได้จัดฝึกอบรมการซ้อมอัคคีภัย ภาคทฤษฎี และฝึกซ้อมการอพยพหนีไฟ ประจำปี 2562

โดยได้รับความร่วมมือจาก เทศบาลเทศบาลบางกะดี การฝึกอบรมผ่านพ้นไปด้วยดี ตามมาตราฐานกำหนด
ทั้งนี้ โรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอส ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ เทศบาลบางกะดี มา ณ ที่นี้ด้วย

อบรมอัคคีภัย และฝึกซ้อมการอพยพหนีไฟ ประจำปี 2562

Posted in News & Information TH by admin
ตุลาคม 2, 2019

มะเร็งปากมดลูก ( Cervical Cancer)

-มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดของมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีไทย

-จากสถิติพบว่าหญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก เณลี่ยปีละ 6,000 ราย

สาเหตุของมะเร็งปากมดลูก

-99% ของมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ( Human Papilloma Virus) สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง

-โดยเฉพาะเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16,18 เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกถึง 70 %

อาการของมะเร็งปากมดลูก

-ระยะเริ่มต้นอาจไม่มีอาการ

-ตกขาวเป็นเลือด

-ตกขาวปนเลือดมีกลิ่นเหม็น

-เลือดออกกระปิดกระปรอยไม่ตรงกับรอบเดือน

-เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธุ์

-เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ตาบวม ตัวบวม ปวดกระดูก เหนื่อย หอบ ในกรณีที่เป็นระยะลุกลาม

การวินิจฉัย

1.กรณีที่ยังไม่เห็นรอยโรค แต่ตรวจ Pep Smear  ผลปกติหรือ HPV พบชนิดเสี่ยงสูง จะส่องกล้องที่ปากมดลูกและตัคดชิ้นเนื้อไปตรวจ ( Colposcopy) และตัดชิ้นเนื้อชิ้นใหญ่ที่ปากมดลูก LEEP หรือ Conization

2.กรณีที่เห็นก้อนเนื้อที่ปากมดลูกหรือแผลที่ปากมดลูก ใช้วิธีตัดชิ้นเนื้อและส่งตรวจทางพยาธิ

3.เมื่อทราบผลชิ้นเนื้อแล้ว จะตรวจเพิ่มเติม เพื่อให้ทราบระยะของโรค ได้แก่ ตรวจเลือด  , X-RAY  ปอด ,Ultrasound,CT-Scan , MRI ,PET Scan

 

การรักษา ขึ้นอยู่กับระยะของโรคได้แก่

1.ตัดชิ้นเนื้อที่ปากมดลูก เป็นรูปกรวยด้วยมีด ( Conization) / ด้วยห่วงลวดไฟฟ้า( LEEP/ LLET2 )ในกรณีที่เป็นระยะเริ่มแรกและยังต้องการมีบุตร

2.ตัดมดลูก,ปากมดลูก กรณีที่เป็นระยะเริ่มแรกและมีบุตรพอแล้ว

3.ตัดมดลูก, ปากมดลูก, ช่องคลอดส่วนบน เลาะเนื้อเยื่อด้านข้าง และเลาะต่อมน้ำเหลองในอุ้งเชิงกราน

4.ฉายแสงและฝังแร่

5.ฉายแสง, ฝังแร่ ร่วมกับให้ยาเคมีบำบัด

6.เคมีบำบัด

***ข้อดีของมะเร็งปากมดลูก คือ เมื่อเราทราบสาเหตุของโรค ทำให้สามารถป้องกันและมีวิธีการตรวจคัดกรองที่ดี

วิธีการตรวจคัดกรอง ได้แก่ การตรวจมะเร็งปากมดลูก ทุก 1-2 ปี

  1. วิธีดั้งเดิม ( Conventional Pep Smear)ใช้ไม้ป้ายเซลล์ที่ปากมดลูก นำมาป้ายที่ Slide แล้วนำไปย้อม อาจจะมีมูกบดบังเซลล์บางส่วน
  2. วิธีใหม่ (Liguid based Cytology) ป้ายเก็บเซลล์ที่ปากมดลูก แล้วใส่ในขวดน้ำยาพิเศษ นำไปปั่นแยกเซลล์ ได้เซลล์มากกว่าและเห็นชัดเจนกว่า

วิธีป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ การฉีด HPV Vaccine

  1. ชนิด 2 สายพันธุ์ ป้องกันเชื้อ HPV 16,18 ฉีด 3 เข็ม (0,3,6 เดือน)
  2. ชนิด 4 สายพันธุ์ ป้องกันเชื้อ HPV 16,18 ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก และ HPV 6,11 ซึ่งเป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่ ฉีด 3 เข็ม (0,3,6 เดือน)

***หลังจากฉีดวัคซีนแล้วยังต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก 1-2 ปี เป็นประจำ

Posted in Health Knowledge TH by admin
กันยายน 3, 2019

การฝากครรภ์คืออะไร
แพทย์จะทำการตรวจร่างกายคุณแม่ สักประวัติ เพื่อหาอาการผิดปกติของคุณแม่ ตรวจทารถในครรภ์ เช่น ฟังเสียงหัวใจ ตรวจขนาดมดลูกโตผิดปกติไหม บางช่วงอาจมีการอัลตร้าซาวด์เพื่อดูขนาดตัวทารกปกติหรือเปล่า

ทำไมต้องฝากครรภ์
การตั้งครรภ์นั้นสำคัญมาก เพราะมีอีกหนึ่งชีวิตที่อยู่กับเรา เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องมาโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ตรวจเช็คร่างกาย ทั้งความดันโลหิต น้ำหนัก ดูการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และดูทารกเด็กในครรภ์ ว่าเจริญเติมโตได้ตามปกติหรือเปล่า
บางครั้งระหว่างการตั้งครรภ์ อาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งหากเป็นโรคเบาหวาน จะต้องคุมอาหาร เจาะเลือดเพื่อเช็คระดับน้ำตาลบ่อยๆ ตรวจเช็คทารกในครรภ์ บางครั้งทารกอาจจะตัวเล็ก/ตัวโต กว่าปกติ อีกภาวะที่พบบ่อย คือ มีความดันโลหิตสูง ตัวบวม มีโปรตีนออกจากปัสสวะ เรียกว่า ภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งหากมีภาวะนี้ จะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะคุณแม่อาจมีโอกาสที่จะชักได้ หรือทารถมีตัวเล็ก หรือเกิดเลือดออกในร่างกายของคุณแม่ได้
เพราะฉะนั้น การฝากครรภ์จึงสำคัญมาก เพื่อให้ทั้งคุณแม่และทารกปลอดภัย

ขั้นตอนการฝากครรภ์
ปกติแพทย์จะสักประวัติ สอบถาม การเปลี่ยนแปลงของร่างกายคุณแม่ รวมไปถึงแนะนำเรื่องการทานอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน
ส่วนใหญ่ในการฝากครรภ์ครั้งแรก แพทย์จะสั่งตรวจเลือด/ปัสสวะ และอัลตร้าซาวด์เพื่อดูขนาดทารถ และหัวใจเต้นหรือยัง ซึ่งอายุครรภ์ที่จะสามารถเห็นตัวทารกและหัวใจได้ชัดทางหน้าท้อง คือ ประมาณ 8 สัปดาห์ โดยอายุครรถ์ยังไม่เยอะมาก แทพย์จะนัดตรวจทุก 4 สัปดาห์ หากเกิน 28 สัปดาห์ แพทย์จะนัดถี่ขึ้นคือทุก 2 สัปดาห์ และหลังจาก 37 สัปดาห์ แพทย์จะนัดทุกๆ สัปดาห์ ระหว่างการฝากครรภ์จะมีการตรวจเช็ค โรคเบาหวาน 1 ครึ่ง และมีการฉีดวัคซีนกันบาดทะยักให้คุณแม่ด้วย
นอกจากนี้การตรวจอัลตร้าซาวด์จะตรวจเป็นระยะ เช่น ครั้งแรกที่ฝากครรภ์ ครั้งที่ 2 หลัง 20 สัปดาห์ และตรวจตามข้อบ่อชี้ต่างๆ ช่วงใกล้คลอด แพทย์จะประเมิณร่างกายคุณแม่และทารก ว่าสามารถคลอดเองได้หรือเปล่า หรือต้องใช้วิธีผ่าตัดคลอด

Posted in Health Knowledge TH by admin | Tags:
สิงหาคม 15, 2019

วิธีแปรงฟันที่มีประสิทธิภาพ
ใช้วิธีขยับ-ปัด (Modified Bass Technique) ในทุกบริเวณยกเว้นฟันหน้าบนด้านเพดาน และฟันหน้าล่างด้านลิ้น วิธีขยับ-ปัดคือการเอียงแปรงสีฟันเข้าหาเหงือกประมาณ 45 องศา ปลายของขนแปรงจะแทรกเข้าไปในร่องเหงือกได้เล็กน้อย ออกแรงถูแปรงไปมาสั้นๆ 8-10 ครั้ง แล้วปัดแปรงสีฟันเข้าหาตัวฟันไปด้านปลายฟัน ทำ เช่นนี้ 5 – 6 ครั้ง ส่วนบริเวณฟันหน้าบนด้านเพดาน และฟันหน้าล่างด้านลิ้นใช้วิธีกด-ดึง-ปัด (Roll Technique) โดยเปลี่ยนให้แนวของด้ามแปรงสีฟันขนานกับแนวของซี่ฟันซี่นั้น กดปลายขนแปรงส่วนสุดท้าย ให้แนบกับบริเวณคอฟันแล้วดึงแปรงลงมา โดยให้ขนแปรงสัมผัสกับผิวฟันตลอดสำ หรับฟันบนหรือดึงขึ้นบนสำ หรับฟันส่าง
สำหรับการแปรงฟันด้านบดเคี้ยว ให้วางขนแปรงตั้งฉากกับด้านคี้ยวของฟัน แล้วออกแรงถูไปมา 4 – 5 ครั้ง แปรงให้ทั่วในส่วนที่ใช้ในการบดเคี้ยวหลังจากแปรงฟันครบทุกซี่ทุกด้านของฟันแล้ว ให้ใช้แปรงสีฟันแปรงบริเวณลิ้นด้วย เนื่องจาก
บริเวณลิ้นจะมีคราบเศษอาหารสะสมอยู่ สังเกตได้จากเมื่อลิ้นเป็นฝ้าขาว ซึ่งหากมีการหมักหมมอยู่นานๆ อาจก่อให้เกิดกลิ่นปากดังนั้นจึงควรทำความสะอาดลิ้น โดนใช้แปรงสีฟันถูเบาๆ บนด้านลิ้น

การใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี
1.ดึงไหมขัดฟันความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วพันที่บริเวณปลายนิ้วกลางทั้ง 2 ข้าง โดยเหลือความยาวของไหมขัดฟันที่พันระหว่างนิ้วประมาณ 2-3 เซนติเมตร
2.สอดไหมขัดฟันเข้าที่ซอกฟันและเหงือก โดยใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ในการควบคุม จากนั้นทำการขัดหรือถูในทิศทางขึ้นลง หรือโค้งเป็นรูปตัว C ควรทำด้วยความระมัดระวังเพราะอาจทำให้เลือดออกได้หากใช้ไหมขัดฟันลึกลงไปในเหงือกมาเกินไป
3.ควรใช้ไหมขัดฟันให้ครบทุกซี่ อาจเริ่มจากฟันบนซี่ในสุด โดยเรียงจากซ้ายไปขวาจนครบทุกซี่ เพื่อง่ายต่อการจดจำ จากนั้นทำต่อที่ฟันล่าง รวมถึงซอกด้านหลังของฟันซี่สุดท้าย เมื่อขัดฟันครบทุกซี่แล้วควรบ้วนปากเพื่อขจัดคราบแบคทีเรียบนผิวฟันและเศษอาหารที่ยังคงหลงเหลืออยู่

Posted in Health Knowledge TH by admin
กรกฎาคม 19, 2019

โรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอส จัดงานทำบุญเนื่องในวันครบรอบการก่อตั้ง โรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอส ปีที่ 19 ❤️🏥

โดยมีผู้บริหาร แพทย์ พยาบาล พนักงานและเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมงานในครั้งนี้ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2562

#โรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอส #กรุงสยามเซนต์คาร์ลอส #StCarlos #KrungSiamStCarlos #ปีที่19 #19ปีกรุงสยามเซนต์คาร์ลอส #19ปีโรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอส #ก้าวสู่ปีที่20

Posted in News & Information TH by admin
กรกฎาคม 5, 2019

1. เก็บยาอย่างไรให้ถูกวิธี เปิดยาใช้แล้วจะเก็บได้นานเท่าไหร่
ยาที่เก็บไว้ใช้ต่อต้องไม่เกินวันหมดอายุที่ระบุที่ภาชนะบรรจุ การเก็บรักษาต้องเก็บไว้
ที่อุณหภูมิและความชื้นไม่เกินที่แนะนำ ไม่ควรเก็บไว้ในรถซึ่งมีความร้อน หรือเข้าใจว่ายา
ทุกชนิดควรเก็บไว้ในตู้เย็น หรือในช่องแข็ง ทำให้ยาเสื่อมก่อนถึงวันหมดอายุ ประสิทธิภาพยาลดลง ยาหยอดตาหรือยาป้ายตา ปกติเปิดใช้แล้ว จะเก็บได้ไม่เกิน 1 เดือน แต่ถ้าเป็นยาที่ไม่ได้ใส่สารกันเสีย เปิดใช้แล้วจะเก็บไว้ใช้ได้ไม่เกิน 12 ชั่วโมงหรือ 24 ชั่วโมง แล้วแต่ชนิดของยาแต่ละแบรนด์
ก่อนใช้ทุกครั้ง ให้สังเกตลักษณะภายนอก ถ้าเป็นยาเม็ด ลักษณะเม็ดยามีความกร่อน ชื้น หรือมีจุดเพิ่มเติมหรือไม่ ถ้าเป็นสารละลายใส สี กลิ่นเปลี่ยนไปหรือไม่ มีตะกอนหรือไม่ ถ้าเป็นสารละลายแขวนตะกอน เมื่อเขย่าแล้วสาระลายเป็นเนื้อเดียวกันหรือไม่ ถ้ามีลักษณะผิดไปจากเดิม ไม่ควรใช้

2. การใช้ยาที่มีเทคนิคพิเศษในการใช้ เช่น ยาหยอดตา ยาหยอดหู ยาป้ายตา ยาพ่นคอ ยาพ่นจมูก ยาเหน็บช่องคลอด ยาเหน็บทวารหนัก เป็นต้น ถ้าไม่รู้วิธีหรือเทคนิคในการใช้ ใช้ไม่ถูกต้อง
การใช้ยาในการรักษาก็จะไม่ได้ผล

3. การไปรับการรักษาจากหลายสถานพยาบาล ควรแจ้งข้อมูลให้บุคลากรทางการแพทย์ทราบว่าไปรักษาที่ไหนมาบ้าง ได้รับยาอะไรมาบ้าง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ในการทำการรักษาที่เหมาะสม ส่งผลต่อท่านที่จะได้รับการรักษาที่เหมาะสมด้วย ทำให้ไม่ได้รับยาซ้ำซ้อน บางครั้งอาจได้รับยาที่มีปฏิกิริยาต่อกัน อาจเสริมฤทธิ์กัน จทำให้เกิดพิษของยา หรือ
ทำให้ฤทธิ์ยาที่ใช้อยู่นั้นลดลงได้ จนทำให้การรักษานั้นไม่ได้ผล

4. การนำยาเดิมที่ใช้อยู่มาด้วย ทำให้แพทย์ทราบว่าท่านใช้ยาอะไรอยู่ ทำให้การรักษาเกิด
ความต่อเนื่อง หรืออาจจะหยุดใช้หรือเปลี่ยนแปลงการรักษา ถ้ายาที่ใช้อยู่ไม่เกิดประสิทธิผลในการรักษา ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น

โดย เภสัชกรหญิงอรพิณ เดชกัลยา

Posted in Health Knowledge TH by admin