Doctor's Search

Double Sidebars

มกราคม 15, 2018

บรรยากาศภายในงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2561 ที่ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี โดย ดร.พินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานพิธีเปิดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2561 จังหวัดปทุมธานี บรรยากาศเต็มไปด้วยร้อยยิ้มและเสียงหัวเราะของเด็กๆ

 

Posted in News & Information TH by admin
พฤศจิกายน 14, 2017

ต่อมทอนซิล คืออะไร ?

ต่อมทอนซิล (Tonsil) คือ ต่อมน้ำเหลืองคู่ ซ้าย ขวา ที่อยู่ในช่องคอ มีหน้าที่คอยดักจับ ฆ่าเชื้อโรคต่างๆที่หลุดเข้าไปในช่องคอ เช่น เชื้อแบคทีเรีย

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดต่อมทอนซิล คือ

1. เจ็บคอบ่อย ต่อมทอนซิลมีการติดเชื้อเรื้อรัง กลืนอาหารจะเจ็บคอ บางครั้งมีกลิ่นปาก ไอบ่อย และมีต่อมน้ำเหลืองข้างลำคอโต การเจ็บคออาจเจ็บ 3 ครั้ง ใน 3 ปี 5ครั้งใน 2 ปี หรือ 7 ครั้งใน 1 ปี เวลาเจ็บจะมีไข้สูง หนาวสั่น และปวดกระดูกทั้งตัว การเจ็บคอนี้ บางครั้งรบกวนต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ต้องหยุดเรียน หรือหยุดงานบ่อย
2. ต่อมทอนซิลโตมาก ทำให้มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้นอนกรน หยุดหายใจเป็นพักๆขณะนอนหลับ (โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ) นอกจากนั้น ต่อมที่โตมากอาจทำให้กลืนลำบาก หรือเด็กเกิดการเจริญเติบโตไม่เต็มที่ รายเช่นนี้ ถ้าผ่าเอาต่อมออก อาการต่างๆจะหายไปได้ถึง 75%
3. เนื้อเยื่อรอบๆต่อมทอนซิลเป็นหนอง เพราะการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้ผล
4. ต่อมทอนซิลโตข้างเดียว ซึ่งที่ต้องตัดออกเพราะอาจเป็นโรคมะเร็งต่อมทอนซิลข้างนั้นได้ จึงจำเป็นต้องตัดออก เพื่อนำทั้งต่อมมาเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา
5. มีอาการชักหลังจากเจ็บคอ ไข้สูง หรือเป็นต่อมที่พิสูจน์ได้ว่า เป็นแหล่งของเชื้อโรค ที่ก่อโรคให้ตนเอง หรือที่คอยแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น เช่น เชื้อเบตา ฮีโมลัยติกสเตรปโตคอคไค กรุ๊ป A (Beta hemolytic streptococci group A) หรือเชื้อโรคคอตีบ

หลังการผ่าตัดเจ็บคอมากไหม ?

หลังการผ่าตัด ชั่วโมงแรกๆจะเจ็บมาก แต่แพทย์จะให้ยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันแผลผ่าตัดติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งภายหลังกินยา อาการปวดแผลจะค่อยๆลดน้อยถอยลง และจะหายภายในระยะเวลาประมาณ 10 วัน ส่วนแผลผ่าตัดจะหายเป็นปกติภายในระยะเวลาประมาณ 30 วัน

หลังผ่าตัดเสียงพูดจะเปลี่ยนไปไหม ?

หลังผ่าตัดสัปดาห์แรก เพดานอ่อนหรือผนังช่องคอจะบวมขึ้นมาก ทำให้หายใจลำบาก อึดอัด ดังนั้นการพูดหรือเปล่งเสียง อาจผิดไปจากเดิม แต่เมื่อแผลหายบวมแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
แต่อย่างไรก็ตามก็มีข้อยกเว้น คือ ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอาการ วีพีไอ (VPI,Velopharyngeal insufficiency) กล่าวคือ มีเสียงขึ้นจมูกหรือคล้ายเสียงรั่วออกจากจมูก ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอาการนี้ คือ
•  ผู้ป่วยมักมีความผิดปกติของเพดาน เช่น เพดานโหว่
•  มีโครงสร้างของศีรษะและใบหน้าผิดปกติ
•  มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อและเส้นประสาทใบหน้า หรือ
•  ในผู้ป่วยปัญญาอ่อน ซึ่งอาการ/ภาวะ VPI นี้ส่วนใหญ่เกิดชั่วคราว ส่วนน้อยต้องรักษาโดยการฝึกพูดหรือผ่าตัดรักษา

หลังผ่าตัดแล้วร่างกายจะผิดปกติไหม?

การผิดปกติที่อาจพบได้หลังการผ่าตัดต่อมทอนซิล คือ
1. น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้น ดังกล่าวแล้วในหัวข้อก่อนหน้านี้
2. เสียงพูดเปลี่ยนชั่วคราว ดังกล่าวแล้วในหัวข้อก่อนหน้านี้
3. ยังคงมีอาการเจ็บคออยู่ เพียงแต่ว่าการเจ็บจะไม่รุนแรง ไม่มีไข้สูง ไม่มีปวดเมื่อยกระดูก และไม่มีหนาวสั่น นอกนั้นการเจ็บคอหลังผ่าตัดก็ไม่ขัดขวางต่อการกินอาหาร

ฝ้าขาวบริเวณแผลผ่าตัดเกิดจากการอักเสบติดเชื้อหรือไม่

หลังผ่าตัด 2-3 วัน ผู้ป่วยจะมีแผลในผนังช่องคอทั้งสองข้างในตำแหน่งเดิมของต่อมทอนซิล เห็นได้เป็นฝ้าขาวๆคล้ายหนองที่อักเสบบริเวณแผล อันนี้เป็นการหายของแผลไม่ใช่เป็นการติดเชื้อ และฝ้านี้จะค่อยๆหายภายในระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์

หลังผ่าตัดผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวอย่างไร ?

หลังผ่าตัดต่อมทอนซิล ควรปฏิบัติดังนี้
1. ผู้ป่วยจะเจ็บคอมาก ให้กินยาตามแพทย์แนะนำ อาจเอาน้ำแข็งห่อผ้าประคบข้างลำคอ (ด้านนอกของลำคอ แต่ตรงตำแหน่งที่เจ็บ) เพื่อลดบวมและเจ็บ
2. อาหารที่กินควรเป็นอาหารอ่อน (ประเภทอาหารทางการแพทย์) กลืนง่าย รสจืด เช่น ข้าวต้ม และควรเป็นอาหารเย็น เช่น ไอศกรีม เยลลี นมเย็น งดสูบบุหรี่ เหล้า เบียร์ ของรสจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด และของกินที่แข็ง งดออกกำลังกายจนกว่าแพทย์จะอนุญาตเพื่อป้องกันเลือดออกจากแผล หลีกเลี่ยงไม่ออกสังคมเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
3. กลั้วคอบ่อยๆ และหลังอาหาร เครื่องดื่มทุกครั้ง ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดอ่อน หรือตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ
4. ไม่ขากเสลดหรือไอแรงๆ เพราะจะทำให้ไหมละลายที่เย็บหรือผูกไว้หลุด ทำให้มีเลือดออกหลังผ่าตัด ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ให้รีบกลับมาโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์
5. ในผู้ป่วยที่น้ำหนักตัวมาก/อ้วน นอนกรน หรือหยุดหายใจขณะนอนหลับ (โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ) หลังผ่าตัดอาจต้องให้แพทย์ดูแลใกล้ชิด อาจต้องดูการนอน การหายใจ ตลอดจนใช้เครื่องช่วยหายใจจนกว่าจะปลอดภัย
6. พบแพทย์ตามนัดเพื่อดูแผล และรับทราบผลชิ้นเนื้อต่อมทอนซิล เพราะแพทย์ต้องตรวจชิ้นเนื้อต่อมทอนซิลร่วมด้วย (การตรวจทางพยาธิวิทยา)

การผ่าตัดต่อมทอนซิลอันตรายไหม?

ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดต่อมทอนซิลที่อาจพบได้ คือ การมีเลือดออกจากแผลผ่าตัดมาก ซึ่งพบได้ประมาณ 2-4%
อัตราเสียชีวิตจากผ่าตัดต่อมทอนซิล พบได้ประมาณ 1 ใน 25,000 ราย โดยสาเหตุของการเสียชีวิต คือ เลือดออกจากแผลไม่หยุด ภาวะหายใจล้มเหลว และจากแผลติดเชื้อ และประมาณ 1 ใน 40,000 ราย เสียชีวิตจากผลข้างเคียงจากการดมยาสลบ

สรุป ผลข้างเคียง/ผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต่อมทอนซิล อาจมีได้ ดังนี้

1. แพ้ยาสลบ ถ้าแพ้เล็กน้อย ผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย ปวดศีรษะ ถ้าเป็นมาก อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และมีภาวะหายใจล้มเหลว
2. เลือดออกมาก ต้องหยุดเลือดในห้องผ่าตัด ถ้าออกมากจนซีด อาจต้องให้เลือด แต่ถ้าหลังผ่าตัด 1-2 สัปดาห์ ยังมีเลือดออก ควรต้องรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ โดยปกติหลังผ่าตัดใหม่ๆภายใน 24 ชั่วโมง อาจมีน้ำลายปนเลือด ซึ่งถือว่าเป็นภาวะปกติ
3. ภาวะขาดน้ำ เพราะกิน/ดื่มไม่ได้ จากการเจ็บ/ปวดที่แผลผ่าตัดนานมากกว่าปกติ ปกติควรภายใน 1-2 วันหลังผ่าตัด) และการหายของแผลช้ากว่ากำหนด
4. เสียงเปลี่ยนชั่วคราวและอาจรู่สึกหายใจไม่เหมือนเดิม แต่อาการเหล่านี้จะหายไปภายในระยะเวลาประมาณ 1 เดือน มีน้อยมากที่เสียงเปลี่ยนถาวร และต้องแก้ไขโดยผ่าตัด
5. หลังผ่าตัด อาจแก้ไขไม่สำเร็จในภาวะนอนกรน หรือการหยุดหายใจเป็นพักๆขณะนอนหลับ (โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ)
6. การเจ็บคออาจไม่หาย อาจเกิดโรคแทรกซ้อนไซนัสอักเสบ และ/หรือหูอักเสบ (หูติดเชื้อ) อาจต้องรักษาต่อเนื่องไปอีก
7. บวมที่บริเวณแผลผ่าตัด หรือบริเวณเนื้อเยื่อข้างเคียง เช่น ที่ลิ้น สาเหตุอาจเกิดจากติดเชื้อในช่องปาก อาจพบหนองในลำคอ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น การรักษา คือการให้ยาปฏิชีวนะ
8. บริเวณโพรงหลังจมูกตีบตัน (Nasopharyngeal stenosis) มักเกิดในเด็กที่มีการผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์ (Adenoid) ร่วมด้วย แต่พบผลข้างเคียงนี้ได้น้อย

อยู่ในโรงพยาบาลนานกี่วัน ?

โดยทั่วไป ผู้ป่วยผ่าตัดต่อมทอนซิลจะอยู่โรงพยาบาลประมาณ 1 วัน ถ้าผู้ป่วยฟื้นคืนสภาพของร่างกายดี เช่น เดินได้เป็นปกติ กินได้ ไม่มีเลือดออก แพทย์ก็แนะนำให้ผู้ป่วยกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้

ตุลาคม 16, 2017

บรรยากาศในงาน Hotline สายสุขภาพ สัญจร ครั้งที่ 6 รอบที่ 2 ตอน “เปิดโลกสเต็มเซลล์” โดย นายแพทย์สุชัย หยองอนุกูล ที่ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค วันที่ 15 ตุลาคม 2560






















Posted in News & Information TH by admin
ตุลาคม 6, 2017

โรคไวรัสตับอักเสบ บี เกิดจากอะไร? ติดต่อได้ไหม? อย่างไร?

ไวรัสตับอักเสบ บี เกิดจากตับติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด บี (Hepatitis B virus/HBV) จัดเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่าย โดยเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คน จากได้รับเชื้อผ่านทางบาดแผลของผิวหนังแม้เพียงเล็กน้อย จากการสัมผัสกับเลือด และ/หรือ สารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำอสุจิ น้ำจากช่องคลอด น้ำลาย น้ำมูก บาดแผลของผู้ติดเชื้อ จากการใช้ของใช้ที่สัมผัสสารคัดหลั่งผู้ป่วยร่วมกัน เช่น เข็มฉีดยา การสักลาย การเจาะหู กรรไกรตัดเล็บ จากเพศสัมพันธ์ (ไวรัสตับอักเสบ บี จึงจัดอยู่ในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ด้วย) จากเลือดสู่เลือด เช่น จากการให้เลือด และทารกในครรภ์สามารถติดเชื้อจากมารดาได้เมื่อมารดาติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ทั้งขณะอยู่ในครรภ์ และในช่วงการคลอด

เมื่อเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บ เกิดเป็นการอักเสบของเซลล์ตับ จึงเกิดเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ บี ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้ จะมีเชื้ออยู่ในเลือด และในสารคัดหลั่งต่างๆ

โรคไวรัสตับอักเสบ บี มีอาการอย่างไร?

โดยทั่วไป จะเกิดอาการประมาณ 30-180 วัน หลังได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี(ระยะฟักตัว) โดยอาการของไวรัสตับอักเสบไม่ว่าเกิดจากสายพันธุ์ใด จะเหมือนกัน ซึ่งที่พบบ่อย คือ เริ่มจากมีอาการคล้ายโรคไข้หวัดทั่วไป เช่น มีไข้(มีได้ทั้งไข้สูง หรือ ไข้ต่ำ) ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว ปวดท้อง ท้องเสีย แต่มักอ่อน เพลีย คลื่นไส้ และอาเจียนมากกว่า หลังจากนั้น 2-3 วัน หรือ ประมาณ1 สัปดาห์ จะเริ่มมีอาการตัว/ตาเหลือง(ดีซ่าน) ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม และอุจจาระอาจมีสีซีด นอกจากนั้นอาจมีตับ และ/หรือ ม้ามโตคลำได้ จากนั้นอาการตัว/ตาเหลืองจะค่อยๆลดลง โดยทั่วไปจะมีอาการอยู่ประมาณ 2-8 สัปดาห์

โรคไวรัสตับอักเสบ บี พบได้ทั้ง การอักเสบแบบเฉียบพลัน คือ เกิดโรคและหายได้ภายในประมาณ 8 สัปดาห์ แต่มีคนอีกกลุ่ม ประมาณ 5-10%(แพทย์ไม่สามารถพยากรณ์ได้ว่า ใครจะอยู่ในกลุ่มนี้) ภายหลังติดเชื้อผ่านไปแล้วตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ก็ยังพบเชื้อได้ในเลือด และในสารคัดหลัง โดยตัวเองไม่มีอาการแล้ว จึงเป็นคนแพร่เชื้อตลอดเวลา และคนกลุ่มนี้บางครั้ง อาจเกิดการติดเชื้อเฉียบพลันซ้ำซ้อนขึ้นอีกได้ เรียกว่า การอักเสบแบบเรื้อรัง ซึ่งยังไม่มีวิธีรักษาให้หายจากการอักเสบเรื้อรังนี้ได้ การรักษาปัจจุบันเพียงควบคุมไม่ให้ไวรัสแบ่งตัวเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้เซลล์ตับจะถูกทำลายตลอด เวลา การรักษาเพียงชะลอไม่ให้เกิดการทำลายมากจนเกิดอาการ ดังนั้น การอักเสบแบบเรื้อรัง จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด โรคตับแข็ง และโรคมะเร็งตับ

แพทย์วินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบ บี ได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบ บี จากประวัติอาการ ประวัติที่เสี่ยงต่อการสัมผ้สโรคดังกล่าวแล้ว การเคยได้รับเลือด ตรวจร่างกาย ตรวจเลือดดูการทำงานของตับ และดูค่าสารภูมิต้านทานไวรัสตับอักเสบชนิดต่างๆ และอาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม ตามดุลพินิจของแพทย์

รักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี อย่างไร?

แนวทางการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี ยังเป็นการรักษาประคับประคองตามอาการ ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพราะยาปฏิชีวนะฆ่าไวรัสไม่ได้ แต่ใช้ฆ่าแบคทีเรีย ซึ่งที่สำคัญ คือ พักการทำงานของตับ โดยการพักผ่อนให้มากๆ (ควรต้องหยุดงานอย่างน้อยประมาณ 3-4 สัปดาห์) นอกจากนั้น คือ

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน(สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ฟื้นตัวได้เร็ว ลดโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อน ลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
  • ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ ไม่ควรต่ำกว่าวันละ 6-8 แก้ว(เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม)
  • กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ ทุกวัน
  • งดบุหรี่ และ แอลกอฮอล์ เพราะสารพิษในบุหรี่และแอลกอฮอล์ทำลายเซลล์ตับโดยตรง
  • กินยาแต่ที่เฉพาะได้รับจากแพทย์ ไม่ซื้อยากินเอง เพราะเพิ่มโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาต่อเซลล์ตับสูงขึ้น อาจส่งผลให้ตับอักเสบมากขึ้น
  • ในการรักษาโรคในระยะเรื้อรัง ปัจจุบันมีตัวยาหลายชนิด ทั้งฉีด และกิน ใช้เพื่อชะลอการแบ่งตัวของไวรัส ส่วนจะเลือกใช้ยาตัวใด ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์

ป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี ได้อย่างไร?

การป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี ที่สำคัญ คือ การฉีดวัคซีน ซึ่งมีหลายชนิด และมีวิธีการในการฉีดแตกต่างกันในแต่ละชนิด ขึ้นกับข้อบ่งชี้ในการใช้(แพทย์จะเป็นผู้แนะนำ) โดยทั่วไป ฉีดเข็มแรกตั้งแต่แรกเกิด(เมื่อเป็นเด็กคลอดในโรงพยาบาล) แต่สามารถฉีดได้เลยในทุกอายุ เมื่อยังไม่เคยฉีด และประสงค์จะฉีด ควรปรึกษาแพทย์

Posted in Health Knowledge TH by admin
กันยายน 27, 2017

เป็นลม หมายถึงภาวะที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว หรือหมดสติไปอย่างกะทันหัน ในทางการแพทย์สามารถแบ่งสาเหตุได้หลายประการ เช่น ถ้าพบในคนอายุต่ำกว่า 30 ปี มักเกิดจากสาเหตุที่ไม่ร้ายแรง แต่ถ้าพบในคนสูงอายุ อาจเกิดจากสาเหตุร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงการเป็นลมธรรมดา ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด
ช่วยคน “เป็นลม” ให้ถูกวิธี

** สาเหตุ
เป็นลมธรรมดาพบได้ค่อนข้างบ่อยในคนทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยจัด อดนอน หรือหิวข้าว อยู่ในฝูงชนแออัด อากาศไม่พอหายใจ อยู่ในที่ที่อากาศร้อนอบอ้าว หรือกลางแดดร้อนจัด มีอารมณ์ตื่นเต้น ตกใจกลัว หรือเสียใจอย่างกะทันหัน
ภาวะดังกล่าวทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอชั่วขณะ ส่งผลให้เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียน หมดสติไปชั่วครู่ ผู้ป่วยมักจะฟื้นคืนสติได้เอง โดยไม่เกิดอันตรายร้ายแรง นอกจากในรายที่มีอาการเป็นลมล้มจากที่สูง อาจทำให้ได้รับบาดเจ็บได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ

** อาการ
อาการมักจะเกิดขึ้นขณะที่กำลังยืน เริ่มด้วยรู้สึกใจหวิว วิงเวียนศีรษะ ตาพร่า หูอื้อ คลื่นไส้ หน้าซีด เหงื่อออก มือเท้าเย็น ถ้าได้นั่งหรือนอนลงทันทีจะรู้สึกดีขึ้น แต่ถ้ายังยืนอยู่ แขนขาจะอ่อนแรง ทรงตัวไม่อยู่ ทรุดลงกับพื้น และหมดสติไป ผู้ป่วยจะหมดสติอยู่เพียงชั่วครู่ อาจนานเพียงไม่กี่วินาที ถึง 1-2 นาที และมักจะฟื้นคืนสติได้เอง ในบางรายอาจเกิดอาการต่างๆ โดยไม่หมดสติก็ได้

** การปฐมพยาบาล
1.ให้ผู้ป่วยนอนศีรษะต่ำ (ไม่ต้องหนุนหมอน ยกขาสูง) คลายเสื้อผ้าและเข็มขัดให้หลวม เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้อย่างเพียงพอ
2.อย่ามุงดูผู้ป่วย เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
3.ใช้น้ำเย็นเช็ดบริเวณใบหน้า คอ แขนขา และให้ดมยาดม จะช่วยให้รู้สึกตัวเร็วขึ้น
4.อย่าให้ผู้ป่วยกินหรือดื่มอะไรขณะที่ยังไม่ฟื้น เพราะจะทำให้สำลักเป็นอันตรายได้
5.เมื่อผู้ป่วยเริ่มรู้สึกตัว ให้นอนพักต่ออีกสักครู่ อย่าเพิ่งลุกนั่งเร็วเกินไป อาจทำให้เป็นลมซ้ำอีกได้
6.เมื่อผู้ป่วยฟื้นคืนสติและเริ่มกลืนได้ อาจให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหรือน้ำหวาน

ผู้ป่วยที่เป็นลมธรรมดา มักจะฟื้นได้เองภายในเวลาไม่กี่นาที แต่ถ้าหมดสติไปนาน หายใจไม่สม่ำเสมอหรือหายใจช้าผิดปกติ ควรนำส่งโรงพยาบาลทันที ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจให้ผายปอดโดยวิธีเป่าปาก แล้วส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
1.ผู้ป่วยไม่ฟื้นภายใน 15 นาที
2.ผู้ป่วยอายุมากกว่า 30 ปี มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ เป็นต้น
3.มีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น หายใจหอบเหนื่อย ปวดท้อง ปวดหลัง ปวดศีรษะ วิงเวียน เห็นภาพซ้อน พูดอ้อแอ้ กลืนลำบาก เดินเซ แขนขาชาหรืออ่อนแรง
4.มีอาการตกเลือด เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ มีบาดแผลเลือดออก เป็นต้น
5.มีภาวะขาดน้ำ อาเจียนรุนแรง ท้องเดินรุนแรง มีไข้สูง
การเป็นลมธรรมดาโดยไม่มีอาการอื่นแทรกซ้อนเป็นเรื่องที่ไม่น่าวิตก แต่ถ้าเป็นลมบ่อยๆ เป็นลมโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย อาจไม่ใช่แค่เป็นลมธรรมดา ควรปรึกษาแพทย์

 

Posted in Health Knowledge TH by admin
กันยายน 26, 2017

ร.พ.กรุงสยามเซนต์คาร์ลอส ร่วมงาน SAFETY WEEK กับ บมจ. ซานมิเกลเบียร์ (ประเทศไทย) เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2560

Posted in News & Information TH by admin
กันยายน 26, 2017

คณะผู้บริหาร แพทย์ พยาบาล และ บุคลากร ของ โรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอส ร่วมประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

Posted in News & Information TH by admin
กันยายน 26, 2017

 

ในทุกวันนี้ เรามักจะได้ยินกันว่าการตรวจสุขภาพประจำปีของโปรแกรมต่างๆ จะมีการตรวจเลือดหามะเร็งกันเป็นประจำ และนอกจากนี้ บางครั้ง เวลาที่มีความผิดปกติ เช่น เลือดออก หรือมีก้อน และสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งหรือไม่ ผู้คนส่วนใหญ่มักจะถามแพทย์ที่ดูแลว่าตรวจเลือดดูว่าเป็นมะเร็งได้หรือ ไม่ เพราะดูเหมือนจะเป็นวิธีการที่น่าจะสะดวก หรือ เจ็บตัวน้อยที่สุด

ประโยชน์ของสารบ่งชี้มะเร็ง (tumor marker) ในทางคลินิก

  • 1. ช่วยวินิจฉัยโรคมะเร็ง
  • 2. ช่วยตรวจกรอง (screening) โรคมะเร็งบางชนิดในคนที่มีความเสี่ยง
  • 3. ใช้ติดตามผลการรักษาและการกลับเป็นซ้ำของโรคมะเร็ง
  • 4. พยากรณ์โรค
  • 5. อาจนำไปใช้ช่วยในการเลือกวิธีการรักษาโรคมะเร็ง

การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง หรือ tumor marker จากเลือด เป็นการตรวจหาสารที่ผลิตจากเซลล์มะเร็ง ซึ่งสามารถช่วยแพทย์ได้ในการตรวจหามะเร็งบางกรณี หากพบมีการเปลี่ยนแปลงระดับต่อเนื่องในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง หรืออาจใช้ช่วยติดตามการรักษา หรือบอกการพยากรณ์โรคได้