Doctor's Search

Medium Images

กรกฎาคม 5, 2019

1. เก็บยาอย่างไรให้ถูกวิธี เปิดยาใช้แล้วจะเก็บได้นานเท่าไหร่
ยาที่เก็บไว้ใช้ต่อต้องไม่เกินวันหมดอายุที่ระบุที่ภาชนะบรรจุ การเก็บรักษาต้องเก็บไว้
ที่อุณหภูมิและความชื้นไม่เกินที่แนะนำ ไม่ควรเก็บไว้ในรถซึ่งมีความร้อน หรือเข้าใจว่ายา
ทุกชนิดควรเก็บไว้ในตู้เย็น หรือในช่องแข็ง ทำให้ยาเสื่อมก่อนถึงวันหมดอายุ ประสิทธิภาพยาลดลง ยาหยอดตาหรือยาป้ายตา ปกติเปิดใช้แล้ว จะเก็บได้ไม่เกิน 1 เดือน แต่ถ้าเป็นยาที่ไม่ได้ใส่สารกันเสีย เปิดใช้แล้วจะเก็บไว้ใช้ได้ไม่เกิน 12 ชั่วโมงหรือ 24 ชั่วโมง แล้วแต่ชนิดของยาแต่ละแบรนด์
ก่อนใช้ทุกครั้ง ให้สังเกตลักษณะภายนอก ถ้าเป็นยาเม็ด ลักษณะเม็ดยามีความกร่อน ชื้น หรือมีจุดเพิ่มเติมหรือไม่ ถ้าเป็นสารละลายใส สี กลิ่นเปลี่ยนไปหรือไม่ มีตะกอนหรือไม่ ถ้าเป็นสารละลายแขวนตะกอน เมื่อเขย่าแล้วสาระลายเป็นเนื้อเดียวกันหรือไม่ ถ้ามีลักษณะผิดไปจากเดิม ไม่ควรใช้

2. การใช้ยาที่มีเทคนิคพิเศษในการใช้ เช่น ยาหยอดตา ยาหยอดหู ยาป้ายตา ยาพ่นคอ ยาพ่นจมูก ยาเหน็บช่องคลอด ยาเหน็บทวารหนัก เป็นต้น ถ้าไม่รู้วิธีหรือเทคนิคในการใช้ ใช้ไม่ถูกต้อง
การใช้ยาในการรักษาก็จะไม่ได้ผล

3. การไปรับการรักษาจากหลายสถานพยาบาล ควรแจ้งข้อมูลให้บุคลากรทางการแพทย์ทราบว่าไปรักษาที่ไหนมาบ้าง ได้รับยาอะไรมาบ้าง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ในการทำการรักษาที่เหมาะสม ส่งผลต่อท่านที่จะได้รับการรักษาที่เหมาะสมด้วย ทำให้ไม่ได้รับยาซ้ำซ้อน บางครั้งอาจได้รับยาที่มีปฏิกิริยาต่อกัน อาจเสริมฤทธิ์กัน จทำให้เกิดพิษของยา หรือ
ทำให้ฤทธิ์ยาที่ใช้อยู่นั้นลดลงได้ จนทำให้การรักษานั้นไม่ได้ผล

4. การนำยาเดิมที่ใช้อยู่มาด้วย ทำให้แพทย์ทราบว่าท่านใช้ยาอะไรอยู่ ทำให้การรักษาเกิด
ความต่อเนื่อง หรืออาจจะหยุดใช้หรือเปลี่ยนแปลงการรักษา ถ้ายาที่ใช้อยู่ไม่เกิดประสิทธิผลในการรักษา ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น

โดย เภสัชกรหญิงอรพิณ เดชกัลยา

Posted in Health Knowledge TH by admin
มิถุนายน 8, 2019

โรคลมแดด หรือ โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) เป็นโรคที่เกิดจากความร้อนที่ร่างกายสร้างขึ้นและได้รับจากภายนอกด้วย จึงส่งผลให้ร่างกายระบายความร้อนไม่ทัน ทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ จนอาจทำให้ระบบต่างๆภายในร่างกายเป็นอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โรคนี้ถ้าหากได้รับการรักษาที่ถูกต้องมีโอกาสรอดชีวิตถึง 90 % แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้เกินกว่า 2 ชั่วโมงก็มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงควรสังเกตอาการของโรคนี้ไว้ให้ดี

อาการของโรคฮีทสโตรก
– มีอาการหน้ามืด เมื่อยล้า อ่อนเพลียไม่มีแรง ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน หอบหายใจเร็ว ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วมาก
– อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รูขุมขนจะปิดจนไม่สามารถระบายเหงื่อได้
– ตัวร้อนมาก ผิวแดงจัด วัดอุณหภูมิได้มากกว่า 40 องศาเซลเซียส
– มีอาการสับสน หงุดหงิด พูดจาไม่รู้เรื่อง อาจถึงขั้นชักกระตุก เกร็ง และหมดสติไป
สัญญาณของ ฮีทสโตรก
สัญญาณสำคัญ คือ ไม่มีเหงื่อออก รู้สึกกระหายน้ำมาก ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ ปวดศีรษะ มึนงง หัวใจเต้นเร็ว เมื่อเกิดอาการดังกล่าวควรหยุดพักทันที หากดูแลรักษาไม่ทันท่วงทีอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

ผู้ที่มีความเสี่ยงจะเกิดโรคฮีทสโตรก
– ผู้ที่ทำงานกลางแจ้งในที่อากาศร้อนจัดเป็นเวลานานๆ กรรมกร เกษตรกร นักกีฬา และทหารที่เข้ารับการฝึก
– ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ที่อดนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ผู้ที่ดื่มเหล้าจัด
– ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด คนที่กินยาขับปัสสาวะ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
– นำผู้ป่วยเข้าที่ร่มในบริเวณที่อากาศเย็นหรืออากาศถ่ายเทได้สะดวก ให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
– ควรคลายเสื้อผ้าให้หลวม เพื่อให้ร่างกายระบายความร้อนได้เร็วขึ้น
– ใช้ผ้าชุบน้ำอุณหภูมิปกติ แล้วเช็ดตัว ซอกรักแร้ คอ ขาหนีบ และหน้าผาก โดยเช็ดย้อนรูขุมขนเพื่อระบายความร้อน
– ใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน หรือพัดแรงๆ เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด
– หากยังไม่ฟื้นให้รีบโทร 1669 เพื่อนำตัวส่งโรงพยาบาลในทันที

Posted in Health Knowledge TH by admin
พฤษภาคม 2, 2019

ยามีทั้งคุณและโทษ ถ้าใช้อย่างถูกต้อง ก็จะรักษาโรคได้ แต่ถ้าใช้ไม่ถูกต้อง นอกจากจะไม่รักษาโรคที่เป็นอยู่แล้ว กลับจะเกิดโทษมหันต์ได้
ประเด็นคำถามที่เภสัชกรพบบ่อยเวลาให้คำแนะนำในการใช้ยา

1. ทำไมต้องถามเรื่องแพ้ยาทุกครั้ง
เรื่องข้อมูลการแพ้ยาเป็นข้อมูลสำคัญที่จะช่วยป้องกันอันตรายจากการได้รับยาที่แพ้ซ้ำ และจะเกิดอันตรายรุนแรงจนกระทั่งเสียชีวิตได้ คนที่เคยแพ้ยาจะทราบดีว่า แพ้ยาครั้งแรกทรมานแค่ไหน และคนที่เคยได้รับยาที่แพ้ซ้ำจะยิ่งทราบดีเลยว่า ขออย่าให้แพ้ซ้ำอีกได้ไหม เพราะอาการจะรุนแรงมากขึ้น

หลายคนคงสงสัยว่าทำไมถึงต้องแพ้รอบ2 กับยาตัวเดิมที่เคยแพ้มาแล้ว เพราะหลายท่านไม่ทราบว่าเมื่อแพ้ยาแล้ว ควรจดจำชื่อยาที่ท่านเคยแพ้และให้ข้อมูลกับหมอ พยาบาล และเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ได้รับยาที่แพ้ซ้ำอีก ที่ผ่านมา คนที่เคยแพ้ยามาแล้ว เมื่อสอบถามข้อมูลไปจะแจ้งว่าไม่ทราบว่าแพ้ยาอะไร ยาที่แพ้เป็นลักษณะเม็ดอย่างนั้น อย่างนี้…ยามีเป็นหลายพันหลายหมื่นชนิด การบอกแค่เพียงรูปพรรณสัณฐาน ซึ่งแต่ละโรงพยาบาล ร้านขายยาหรือคลินิก แต่ตัวเดียวกัน ก็มีหลายชื่อการค้า เพราะผลิตจากหลายบริษัทยา หน้าตาก็ไม่เหมือนกันแน่นอน

ที่ผ่านมา อาจจะจำไม่ได้ แพ้มาหลายสิบปีแล้ว แพ้ตั้งแต่เด็ก พ่อแม่บอกว่าแพ้ให้จำไว้ แต่ไม่บอกชื่อยา นับตั้งแต่นี้ไป ไม่ว่าจะรับยาที่ไหน ถ้าสงสัยว่าแพ้ยา หยุดยาแล้วกลับไปสอบถามชื่อยาจากที่ที่ท่านรับยามา แล้วให้แจ้งชื่อยาที่แพ้ทุกครั้งแจ้งครั้งแรกครั้งเดียวไม่ได้หรือ?

การแพ้ยาขึ้นกับแต่ละบุคคล บางคนมีความไวต่อการแพ้ยาสูงมาก ใช้อะไรก็แพ้ ครั้งแรกแจ้งข้อมูลไว้ตัวเดียว แต่ต่อมาอาจแพ้เพิ่มเติม การให้ข้อมูลการแพ้ยาทุกครั้ง จะได้อัพเดทข้อมูล เพื่อป้องกันการได้รับยาที่แพ้ซ้ำด้วย ยิ่งปัจจุบันวิวัฒนาการด้านการผลิตยามีสูงมาก โครงสร้างยามีลักษณะคล้ายกัน ยาคนละตัว แต่อาจแพ้กันได้

2. รับประทานยาไม่ตรงเวลา หรือลืมรับประทานก็ไม่ใช้เลย
จะพบบ่อยมาก แต่ไม่มีใครกล้าบอกหมอหรือเภสัชกรเลย ว่าลืมรับประทานยา ไม่ได้รับประทานยา แต่หมอและเภสัชกรทราบ เพราะผลการรักษาไม่ได้เป็นไปตามที่ควรจะเป็น คุยกันไปมาจึงจะกล้าบอก

การรับประทานยา ขอให้รับประทานตามเวลา ปกติทั่วไปยาก่อนอาหารควรรับประทานก่อนอาหาร ครึ่งชั่วโมง ยกเว้นบางตัวที่ระบุว่า หนึ่งชั่วโมง หรือตามเวลาที่ระบุ ยาหลังอาหาร ควรรับประทานหลังอาหาร 15 นาที หรือบางตัวระบุว่าหลังอาหารทันที แสดงว่ายาตัวนั้นระคายเคืองกระเพาะอาหาร จำเป็นต้องรับประทานหลังอาหารทันที หรือยาบางตัวระบุว่าต้องรับประทานหลังยาตัวอื่น 1 ชั่วโมง ไม่ควรรับประทานพร้อมอาหารประเภทต่างๆ เช่น นม ยาลดกรด แคลเซียม ก็ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด มิเช่นนั้น ยาจะถูกอาหารหรือยาดังกล่าวจับไว้ ไม่ให้ออกฤทธิ์ การรักษาก็ไม่ได้ผล

ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตสูง ควรรับประทานยาให้ตรงเวลากันทุกวัน ไม่จำเป็นต้องหลังอาหาร เพราะปัจจุบันการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อไม่ตรงเวลากัน แต่ยารักษาโรคเบาหวาน ไม่ว่าจะเป็นยาชนิดรับประทานหรือยาฉีดอินซูลินก็แล้วแต่ ควรต้องเคร่งครัดว่าใช้ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง หรือฉีดยาอินซูลินแล้วรับประทานอาหารทันที สำหรับยาอินซูลินบางชนิด ก็ต้องปฏิบัติตามนั้น เพื่อป้องกันการเกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากยาออกฤทธิ์แล้ว แต่ไม่ได้รับประทานอาหารตามเวลา

ถ้าลืมรับประทานยา ขอให้รับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้ แต่ไม่ควรเกินเวลาครึ่งหนึ่งของระยะห่างของเวลาในมื้อถัดไป

3. ปรับขนาดยาเองตามใจชอบ ด้วยความเชื่อที่ว่ารับประทานยามากไม่ดี เมื่ออาการดีขึ้นแล้วก็หยุดยาเอง เช่น บางคนความดันโลหิตสูง พอรับประทานยาแล้วความดันโลหิตลดลง ก็งดยาเองไม่ยอมรับประทานต่อตามแพทย์สั่ง ความดันโลหิตก็จะสูงขึ้นอีกหรือยาบางอย่าง เช่น ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อ ซึ่งต้องรับประทานให้หมดตามแพทย์สั่ง ผู้ป่วยบางคนพอรับประทานไปได้ระยะหนึ่ง อาการหายไปก็หยุดยาเอง ผลคือเกิดเชื้อดื้อยาขึ้น ครั้งต่อไปต้องใช้ยาที่แรงขึ้น เป็นต้น หรือในทางตรงข้ามเชื่อว่ารับประทานยามากแล้วหายเร็ว จึงเพิ่มขนาดยาเอง ผลคือความดันโลหิตอาจลดลงต่ำจนเกิดอันตรายได้

4.นำยาของคนอื่นมาใช้ หรือนำยาของเราไปให้คนอื่นใช้ เนื่องจากมีอาการเหมือนกัน ซึ่งยาบางชนิดอาจมีข้อห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคตับ โรคไต หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร หรือบางคนอาจจะแพ้ยาที่แตกต่างกัน การนำยาที่ไม่ใช่ของเรามาใช้ อาจทำให้เกิดอันตรายได้

Posted in Health Knowledge TH by admin
เมษายน 4, 2019

ไอพีดี (IPD )คืออะไร?

โรค Invasive Pneumococcal Disease หรือ โรคไอพีดี คือโรคติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสชนิดรุนแรง ที่อาศัยอยู่ในโพรงจมูก และคอของคนทั้งไป ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ ซึ่งในผู้ใหญ่โดยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการใดๆ แต่เป็นพาหะแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ มีเพียงอาการไอ จาม แต่ถ้าในเด็กอายุที่ต่ำกว่า 2 ขวบที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

โรค IPD ที่มีอาการรุนแรง ได้แก่ การติดเชื้อในกระแสเลือด โรคปอดอักเสบ และเยื่อหุ้มในสมองอักเสบ ซึ่งเป็นภาวะรุนแรงที่ทำให้เสียชีวิตได้ กรมอนามัยโลกพบว่า โรคปอดอักเสบเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ

อาการของโรคไอพีดี

1.การติดเชื้อในระบบประสาท ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เด็กจะมีไข้สูง ซึม อาเจียน คอแข็ง เด็กทารกจะมีไข้สูง ซึม ร้องกวน กระหม่อมโป่งตึง และชัก ถ้ารักษาไม่ทันท่วงทีอาจเสียชีวิต การวินิจฉัยโรคต้องมีการตรวจเพาะเชื้อจากการเจาะกรวดน้ำไขสันหลัง

2.การติดเชื้อในกระแสเลือด เด็กจะมีอาการไข้สูง ร้องกวน เชื้อสามารถกระจายไปสู่อวัยวะอื่นได้ เช่น ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด อาจเกิดการช็อก และเสียชีวิตได้

3.การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนล่าง คือ ปอดอักเสบ เด็กมีไข้ ไอ หอบ ถ้ารุนแรงมากอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เนื่องจากภาวการณ์หายใจล้มเหลว

4.การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน คือ คออักเสบ หูน้ำหนวก (หรือหูชั้นกลางอักเสบ) และไซนัสอักเสบ ถ้ารักษาไม่ถูกต้องเชื้ออาจลุกลามไปอวัยวะข้างเคียงและสมองได้

การรักษาโรคไอพีดี

สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ ถ้าเป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง เช่น คออักเสบ น้ำหนวก หรือไซนัสอักเสบ สามารถรับประทานยาได้ แต่ถ้าติดเชื้อรุนแรง ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล และให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือด พร้อมทั้งรักษาตามอาการ เช่น การหายใจ ยากันชัก เป็นต้น

การรักษาอาการรุนแรง จำเป็นต้องรักษาให้ทันท่วงที เช่น การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง อาจทำให้เด็กชัก เกิดความพิการทางสมอง ปัญญาอ่อนได้ หรืออาจเกิดการดื้อยา ทำให้ยากต่อการรักษา ทำให้เกิดความพิการ และเสียชีวิตได้

เด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคไอพีดี

1.เด็กที่มีสุขภาพดี อายุน้อยกว่า 2 ขวบ

2.เด็กที่เป็นโรคหัวใจ โรคปอด โรคตับเรื้อรัง

3.เด็กที่ไม่มีม้าม หรือม้ามทำงานไม่ดี

4.เด็กที่อยู่สถานเลี้ยงเด็กกลางวัน

5.เด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

6.เด็กที่มีน้ำไขสันหลังรั่ว

การป้องกันโรคไอพีดี

1.สอนให้เด็กมีสุขภาพอนามัยที่ดี ล้างมือบ่อยๆ และปิดปาก ปิดจมูกทุกครั้งเมื่อไอ หรือจาม

2.หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับคนที่ป่วย หรือเป็นไข้หวัด และให้ลูกกินนมแม่สร้างภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด

3.ควรฉีดวัคซีนป้องกัน IPD ตั้งแต่ยังเล็ก โดยปรึกษากุมารแพทย์ ประจำโรงพยาบาลฯ

เครดิต: ผู้จัดการออนไลน์, ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

 

 

Posted in Health Knowledge TH by admin
กุมภาพันธ์ 9, 2019

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนอาจส่งผลให้เกิดโรคและความผิดปกติในระบบต่างๆของร่ากาย

สาเหตุหลักของโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) 

คือการใช้งานกล้ามเนื้องและข้อต่อที่ผิดไปจากภาวะปกติ เกิดจากการทำงานในพื้นที่จำกัดและขาดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ได้แก่

  1. นั่งไขว่ห้าง
  2. นั่งหลังงอ หลังค่อม
  3. นั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น
  4. ยืนแอ่นพุง/ยืนหลังค่อม
  5. สะพานกระเป๋าหนักข้างเดียว

พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) 

ได้แก่ ความเครียด ทานอาหารไม่ตรงเวลา ทำงานหนักเกินไป และไม่ออกกำลังกาย

อาการที่พบได้บ่อยในออฟฟิศซินโดรม

  1. กล้ามเนื่ออักเสบเรื้อรัง (Myofascia pain Syndrome)
  2. เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ/ยกแขนไม่ขึ้น (Tendinitis)
  3. อาการปวด/ชาร้าวลงแขน( Nerve tension/C-Spondylosis)
  4. ยืนแอ่นพุง/ยืนหลังค่อม

 

 

Posted in Health Knowledge TH by admin
กุมภาพันธ์ 5, 2019
Posted in News & Information TH by admin
มกราคม 15, 2019


มือ(Hand)อวัยวะที่สำคัญของร่างกายใช้ในการหยิบจับสิ่งของ ในหนึ่งวันเราแทบไม่ได้หยุดใช้งานมือเลย โดยมีเพียงตอนหลับเท่านั้นที่มือได้พักนานที่สุด โดยเฉพาะปัจจุบันมือกลายเป็นอวัยวะที่มีชั่วโมงการทำงานต่อเนื่องมากกว่าแต่ก่อน เนื่องจากเทคโนโลยีที่เข้ามาในชีวิตประจำวัน การใช้โทรศัพท์มือถือในการสื่อสาร หรือใช้แท็บเล็ตเพื่อความบันเทิงรูปแบบต่างๆรวมไปถึงลักษณะการทำงานที่รูปแบบงานต้องผูกติดกับคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา ปัจจับเหล่านี้อาจทำให้มือของคุณป่วยได้ไม่รู้ตัว และถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจรุนแรงถึงขั้นผ่าตัด หรือทำให้มือไม่สามารถใช้งานได้สมบรูณ์แบบเช่นเดิม

3 โรคมือที่พบบ่อย

1.นิ้วล็อก (Trigger’s finger) เป็นอาการของมือที่ไม่สามารถขยับนิ้วได้ เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น และเส้นเอ็นที่ทำหน้าที่ในการงอนิ้วมือที่บริเวณโคนนิ้วมือ อาการนิ้วล็อกเกิดจากการใช้งานนิ้วมือมากเกินไปทำให้เกิดการอักเสบของเยื้อหุ้มเอ็น จะพบบ่อยในอาชีพที่ใช้มือเยอะ เช่น แม่บ้าน ช่างเย็บเสื้อผ้า ช่างไม้ เป็นต้น และเกิดจากการใช้งานมืออย่างไม่ถูกต้อง เช่น การใช้งานของมือที่ต้องงอนิ้วมือ กำ บีบ หรือหิ้ว สิ่งของติดต่อกันเป็นเวลานาน

2.มือชาหรือพังผืดทับเส้นประสาทข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เส้นประสาทถูกกดรัดที่บริเวณข้อมือ ทำให้เกิดอาการมือชาหรือเป็นเหน็บส่วนมากเกิดขึ้นกับ 3 นิ้ว คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง ถ้ามีอาการมากขึ้นจะมีอาการปวดชาร้าวไปยังท่อนแขนหรือต้นแขนได้   สาเหตุเกิดขึ้นหลายสาเหตุ เช่น การอักเสบของเส้นเอ็นจากการใช้งานมือมาก การหนาตัวของเนื้อเยื้อผังผืดที่ข้อมือจากการใช้งาน โดยเฉพาะงานที่มีการสั่นสะเทือนหรือมีการกระดกข้อมือซ้ำๆ ภาวะบวมน้ำจากโรคไต หรือจากการตั้งครรภ์ เป็นต้น

3.เอ็นข้อมืออักเสบ (De Quevain’s) เป็นอาการที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ใช้มือทำงานบ่อยๆซ้ำๆ และข้อมืออยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง เกิดการสีไปมาค่อนข้างบ่อยทำให้สะสมการบาดเจ็บของเส้นเอ็นตลอดเวลา เอ็นที่พบการอักเสบได้บ่อยคือนิ้วหัวแม่มือ จะมีอาการเจ็บเมื่อกระดกนิ้วโป้ง และเมื่อขยับนิ้วโป้งมาที่กลางฝ่ามือ

Posted in Health Knowledge TH by admin
พฤศจิกายน 5, 2018

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2561 โรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอส โดย นพ.สุชัย และ พญ.อัญชุลี หยองอนุกูล ได้เป็นประธานในงานบุญมหากฐินและผ้าป่าสามัคคี ประจำปี 2561 ณ วัดหนองไก่ขัน ต.เขาขลุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี































 

Posted in News & Information TH by admin
ตุลาคม 12, 2018

1. เหตุใดจึงต้องรับวัคซีน
     โรคหัด โรคคางทูม และโรคเหือดเป็นโรคจากเชื้อไวรัสที่อาจส่งผลร้ายแรงตามมา ก่อนที่จะมีวัคซีน โรคเหล่านี้พบบ่อยมากในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในเด็ก โรคเหล่านี้ยังคงพบ
บ่อยในหลายส่วนของโลก

โรคหัด
-เชื้อไวรัสหัดก่อให้เกิดอาการที่อาจรวมถึงอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก และตาแดง มีน้ำตาไหล โดยส่วนใหญ่มักตามด้วยผื่นทั่วตัว
‚- โรคหัดอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อในหู ท้องร่วง และการติดเชื้อในปอด (ปอดบวม) ในกรณีส่วนน้อย โรคหัดสามารถททำลายสมอง หรือทำให้เสียชีวิต
โรคคางทูม
– เชื้อไวรัสคางทูมทำให้เกิดอาการไข้ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ เหนื่อยล้า เบื่ออาหาร และต่อมน้ำลายหลังใบหูข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างบวม กดแล้วเจ็บ
– โรคคางทูมอาจทำให้หูหนวก สมองและ/หรือบริเวณรอบไขสันหลังบวม (สมองอักเสบหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ) อัณฑะหรือรังไข่บวมเจ็บ และในกรณีส่วนน้อยมาก เสียชีวิต
โรคหัดเยอรมัน
– เชื้อไวรัสหัดเยอรมันทำให้เกิดอาการไข้ เจ็บคอ มีผื่น ปวดหัว และระคายเคืองตา
– โรคหัดเยอรมันสามารถก่อให้เกิดอาการปวดข้อซึ่งคิดเป็นครึ่งหนึ่งของกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นสตรี
และวัยรุ่น
-หากได้รับเชื้อเหือดขณะตั้งครรภ์ อาจแท้งหรือบุตรที่คลอดออกมาอาจมีความบกพร่อง
ร้ายแรงแต่กำเนิด

โรคเหล่านี้สามารถแพร่จากคนสู่คนได้ง่าย โรคหัดไม่จำเป็นต้องสัมผัสตัว คุณอาจได้รับเชื้อได้จากการเข้าไปในห้องที่เคยมีคนที่เป็นโรคหัดอยู่ก่อนหน้า 2 ชั่วโมง
วัคซีนและการฉีดวัคซีนในอัตราสูงทำให้พบโรคเหล่านี้น้อยลงมากในสหรัฐอเมริกา

 

2. วัคซีน MMR (โรคหัด โรคคางทูม และ โรคหัดเยอรมัน)

โดยทั่วไป เด็กควรได้รับวัคซีน MMR 2 ครั้ง ได้แก่:
– ครั้งแรก: อายุ 12 ถึง 15 เดือน
– ครั้งที่สอง: อายุ 4 ถึง 6 ปี
เด็กทารกที่จะเดินทางออกนอกสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีอายุระหว่าง 6 ถึง 11 เดือนควรได้รับวัคซีน MMR ก่อนเดินทาง การรับวัคซีนสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคหัดได้ชั่วคราว แต่จะไม่ทำให้มีภูมิคุ้มกันถาวร เด็กยังควรได้รับวัคซีน 2 ครั้งตามอายุที่แนะนำเพื่อการป้องกันที่ยาวนาน
ผู้ใหญ่ยังอาจต้องได้รับวัคซีน MMR ด้วยเช่นกัน ผู้ใหญ่จำนวนมากที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปอาจมีเชื้อโรคหัด โรคคางทูม และโรคหัดเยอรมัน โดยไม่รู้ตัว
อาจแนะนำให้ฉีดวัคซีน MMR ครั้งที่สามในกรณีที่เกิดการระบาดของโรคคางทูม
ไม่มีความเสี่ยงที่ทราบในการรับวัคซีน MMR พร้อมกับวัคซีนอื่นๆ

มีวัคซีนรวมที่เรียกว่า MMRV ซึ่งเป็นวัคซีนโรคอีสุกอีใสและ MMR MMRV เป็นทางเลือกสำหรับเด็กที่มีอายุ 12 เดือนถึง 12 ปี มีรายงานข้อมูลวัคซีน MMRV แยกต่าง
หาก ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่คุณ

3. บางบุคคลที่ไม่ควรรับวัคซีน

แจ้งให้ผู้ให้บริการวัคซีนของคุณทราบ หากบุคคลที่รับวัคซีนนั้น:
‚- มีอาการแพ้ร้ายแรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต บุคคลที่เคยมีอาการแพ้ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตหลังจากได้รับวัคซีน MMR หนึ่งครั้ง หรือมีอาการแพ้ร้ายแรงต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของวัคซีนนี้ อาจได้รับคำแนะนำให้ไม่รับวัคซีนสอบถามผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณหากคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบของวัคซีน
-‚ ตั้งครรภ์ หรือคิดว่าตัวเองอาจตั้งครรภ์ สตรีมีครรภ์ควรรอรับวัคซีน MMR จนกว่าหลังจากที่ไม่ตั้งครรภ์อีก สตรีควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 เดือน หลังจากรับวัคซีน MMR
-‚ มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากโรค (เช่น มะเร็ง หรือ เอชไอวี/เอดส์) หรือการรักษา (เช่น การฉายรังสี การรักษาด้วยการก่อภูมิคุ้มกัน สเตียรอยด์ หรือเคมีบำบัด)
-‚ มีบิดามารดา พี่น้องที่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
-‚ เคยมีภาวะโรคที่ทำให้ฟกชำ้ หรือเลือดออกได้ง่าย
‚- เพิ่งทำการถ่ายเลือด หรือได้รับผลิตภัณฑ์เลือดอื่น ๆ คุณอาจได้รับคำแนะนำให้เลื่อนการให้วัคซีน MMR ออกไปเป็นเวลา 3 เดือนขึ้นไป
– เป็นวัณโรค
-‚ ได้รับวัคซีนอื่นในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา วัคซีนเชื้อเป็นที่ให้ใกล้กันเกินไปอาจไม่ได้ผลเช่นกัน
-‚ รู้สึกไม่สบาย อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น หวัด โดยทั่วไปจะไม่ใช่เหตุผลในการเลื่อนการให้วัคซีน ผู้ที่เจ็บป่วยระดับปานกลางหรือรุนแรงอาจควรรอ แพทย์ของคุณสามารถแนะนำคุณได้

4 ความเสี่ยงของอาการแพ้วัคซีน

ด้วยการรับยาใด ๆ รวมถึงวัคซีน จะมีโอกาสเกิดอาการแพ้ โดยปกติจะมีอาการเล็กน้อยแล้วหายไปเอง แต่อาจเกิดอาการแพ้รุนแรงได้เช่นกัน
การรับวัคซีน MMR ปลอดภัยกว่าการเป็นโรคหัด โรคคางทูม หรือโรคหัดเยอรมัน คนส่วนใหญ่ที่ได้รับวัคซีน MMR ไม่มีปัญหาในเรื่องนี้
หลังจากฉีดวัคซีน MMR บุคคลอาจมีอาการดังนี้

อาการเล็กน้อย:
‚- ปวดแขนเนื่องจากการฉีดยา
– ไข้
– เป็นผื่นแดงในบริเวณที่ฉีด
– ‚ ต่อมบวมในแก้มหรือลำคอ
หากมีอาการเหล่านี้ โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีน และจะมีโอกาสเกิดน้อยลงเมื่อได้รับวัคซีนครั้งที่สอง

อาการปานกลาง:
‚- ชัก (กระตุกหรือตาแข็ง) มักพบร่วมกับอาการไข้
‚- ข้อต่อเจ็บและแข็งชั่วคราว ส่วนใหญ่พบในสตรี หรือวัยรุ่น
‚- ปริมาณเกล็ดเลือดต่ำชั่วคราว ซึ่งอาจส่งผลให้มีอาการเลือดออกหรือฟกช้ำผิดปกติผื่นทั่วตัว

อาการรุนแรงเกิดขึ้นน้อยมาก:
‚- หูหนวก
‚- ชักระยะยาว หมดสติ หรือระดับการรู้สึกตัวต่ำ
‚- สมองถูกทำลาย

อาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากได้รับวัคซีนนี้ ได้แก่
‚- บางคนอาจเป็นลมหลังจากให้การรักษา รวมถึงการฉีดวัคซีน การนั่งหรือเอนหลังเป็นเวลาประมาณ 15 นาที อาจช่วยป้องกันการเป็นลมและการบาดเจ็บที่เกิดจากการหกล้ม แจ้งผู้ให้บริการของคุณทราบ หากคุณรู้สึกเวียนหัว หรือการมองเห็นเปลี่ยนแปลงไป หรือมีเสียงในหู
-‚ บางคนอาจเจ็บไหล่ ซึ่งอาจร้ายแรงกว่าและยาวนานกว่าการเจ็บทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการฉีดยา อาการนี้แทบจะไม่เกิดขึ้นเลย
-‚ การรักษาด้วยยาใด ๆ สามารถก่อให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้ มีการประมาณการว่าอาการแพ้วัคซีนดังกล่าวเกิดขึ้น 1 ในล้านครั้ง และอาจเกิดขึ้นไม่กี่นาทีหรือไม่กี่ชั่วโมงหลังจากฉีดวัคซีน
เมื่อให้ร่วมกับยาใด ๆ มีโอกาสน้อยมากที่วัคซีนจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บร้ายแรงหรือเสียชีวิต

5. ควรทำอย่างไรหากเกิดปัญหาร้ายแรง

ฉันควรจะพิจารณาอะไร
‚- พิจารณาทุกเรื่องที่ทำให้คุณกังวล เช่น สัญญาณของอาการแพ้รุนแรง มีไข้สูงมาก หรือพฤติกรรมที่ผิดปกติ
สัญญาณของอาการแพ้รุนแรงอาจได้แก่ ลมพิษ หน้าและคอบวม หายใจลำบาก หัวใจ เต้นเร็ว เวียนหัว และอ่อนเพลีย อาการเหล่านี้มักเริ่มมีตั้งแต่ได้รับวัคซีนไม่กี่นาทีจนถึงไม่กี่ชั่วโมง

Posted in Health Knowledge TH by admin | Tags: