Doctor's Search

ป้ายกำกับ: วัคซีน MMR

ตุลาคม 12, 2018

1. เหตุใดจึงต้องรับวัคซีน
     โรคหัด โรคคางทูม และโรคเหือดเป็นโรคจากเชื้อไวรัสที่อาจส่งผลร้ายแรงตามมา ก่อนที่จะมีวัคซีน โรคเหล่านี้พบบ่อยมากในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในเด็ก โรคเหล่านี้ยังคงพบ
บ่อยในหลายส่วนของโลก

โรคหัด
-เชื้อไวรัสหัดก่อให้เกิดอาการที่อาจรวมถึงอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก และตาแดง มีน้ำตาไหล โดยส่วนใหญ่มักตามด้วยผื่นทั่วตัว
‚- โรคหัดอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อในหู ท้องร่วง และการติดเชื้อในปอด (ปอดบวม) ในกรณีส่วนน้อย โรคหัดสามารถททำลายสมอง หรือทำให้เสียชีวิต
โรคคางทูม
– เชื้อไวรัสคางทูมทำให้เกิดอาการไข้ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ เหนื่อยล้า เบื่ออาหาร และต่อมน้ำลายหลังใบหูข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างบวม กดแล้วเจ็บ
– โรคคางทูมอาจทำให้หูหนวก สมองและ/หรือบริเวณรอบไขสันหลังบวม (สมองอักเสบหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ) อัณฑะหรือรังไข่บวมเจ็บ และในกรณีส่วนน้อยมาก เสียชีวิต
โรคหัดเยอรมัน
– เชื้อไวรัสหัดเยอรมันทำให้เกิดอาการไข้ เจ็บคอ มีผื่น ปวดหัว และระคายเคืองตา
– โรคหัดเยอรมันสามารถก่อให้เกิดอาการปวดข้อซึ่งคิดเป็นครึ่งหนึ่งของกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นสตรี
และวัยรุ่น
-หากได้รับเชื้อเหือดขณะตั้งครรภ์ อาจแท้งหรือบุตรที่คลอดออกมาอาจมีความบกพร่อง
ร้ายแรงแต่กำเนิด

โรคเหล่านี้สามารถแพร่จากคนสู่คนได้ง่าย โรคหัดไม่จำเป็นต้องสัมผัสตัว คุณอาจได้รับเชื้อได้จากการเข้าไปในห้องที่เคยมีคนที่เป็นโรคหัดอยู่ก่อนหน้า 2 ชั่วโมง
วัคซีนและการฉีดวัคซีนในอัตราสูงทำให้พบโรคเหล่านี้น้อยลงมากในสหรัฐอเมริกา

 

2. วัคซีน MMR (โรคหัด โรคคางทูม และ โรคหัดเยอรมัน)

โดยทั่วไป เด็กควรได้รับวัคซีน MMR 2 ครั้ง ได้แก่:
– ครั้งแรก: อายุ 12 ถึง 15 เดือน
– ครั้งที่สอง: อายุ 4 ถึง 6 ปี
เด็กทารกที่จะเดินทางออกนอกสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีอายุระหว่าง 6 ถึง 11 เดือนควรได้รับวัคซีน MMR ก่อนเดินทาง การรับวัคซีนสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคหัดได้ชั่วคราว แต่จะไม่ทำให้มีภูมิคุ้มกันถาวร เด็กยังควรได้รับวัคซีน 2 ครั้งตามอายุที่แนะนำเพื่อการป้องกันที่ยาวนาน
ผู้ใหญ่ยังอาจต้องได้รับวัคซีน MMR ด้วยเช่นกัน ผู้ใหญ่จำนวนมากที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปอาจมีเชื้อโรคหัด โรคคางทูม และโรคหัดเยอรมัน โดยไม่รู้ตัว
อาจแนะนำให้ฉีดวัคซีน MMR ครั้งที่สามในกรณีที่เกิดการระบาดของโรคคางทูม
ไม่มีความเสี่ยงที่ทราบในการรับวัคซีน MMR พร้อมกับวัคซีนอื่นๆ

มีวัคซีนรวมที่เรียกว่า MMRV ซึ่งเป็นวัคซีนโรคอีสุกอีใสและ MMR MMRV เป็นทางเลือกสำหรับเด็กที่มีอายุ 12 เดือนถึง 12 ปี มีรายงานข้อมูลวัคซีน MMRV แยกต่าง
หาก ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่คุณ

3. บางบุคคลที่ไม่ควรรับวัคซีน

แจ้งให้ผู้ให้บริการวัคซีนของคุณทราบ หากบุคคลที่รับวัคซีนนั้น:
‚- มีอาการแพ้ร้ายแรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต บุคคลที่เคยมีอาการแพ้ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตหลังจากได้รับวัคซีน MMR หนึ่งครั้ง หรือมีอาการแพ้ร้ายแรงต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของวัคซีนนี้ อาจได้รับคำแนะนำให้ไม่รับวัคซีนสอบถามผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณหากคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบของวัคซีน
-‚ ตั้งครรภ์ หรือคิดว่าตัวเองอาจตั้งครรภ์ สตรีมีครรภ์ควรรอรับวัคซีน MMR จนกว่าหลังจากที่ไม่ตั้งครรภ์อีก สตรีควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 เดือน หลังจากรับวัคซีน MMR
-‚ มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากโรค (เช่น มะเร็ง หรือ เอชไอวี/เอดส์) หรือการรักษา (เช่น การฉายรังสี การรักษาด้วยการก่อภูมิคุ้มกัน สเตียรอยด์ หรือเคมีบำบัด)
-‚ มีบิดามารดา พี่น้องที่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
-‚ เคยมีภาวะโรคที่ทำให้ฟกชำ้ หรือเลือดออกได้ง่าย
‚- เพิ่งทำการถ่ายเลือด หรือได้รับผลิตภัณฑ์เลือดอื่น ๆ คุณอาจได้รับคำแนะนำให้เลื่อนการให้วัคซีน MMR ออกไปเป็นเวลา 3 เดือนขึ้นไป
– เป็นวัณโรค
-‚ ได้รับวัคซีนอื่นในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา วัคซีนเชื้อเป็นที่ให้ใกล้กันเกินไปอาจไม่ได้ผลเช่นกัน
-‚ รู้สึกไม่สบาย อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น หวัด โดยทั่วไปจะไม่ใช่เหตุผลในการเลื่อนการให้วัคซีน ผู้ที่เจ็บป่วยระดับปานกลางหรือรุนแรงอาจควรรอ แพทย์ของคุณสามารถแนะนำคุณได้

4 ความเสี่ยงของอาการแพ้วัคซีน

ด้วยการรับยาใด ๆ รวมถึงวัคซีน จะมีโอกาสเกิดอาการแพ้ โดยปกติจะมีอาการเล็กน้อยแล้วหายไปเอง แต่อาจเกิดอาการแพ้รุนแรงได้เช่นกัน
การรับวัคซีน MMR ปลอดภัยกว่าการเป็นโรคหัด โรคคางทูม หรือโรคหัดเยอรมัน คนส่วนใหญ่ที่ได้รับวัคซีน MMR ไม่มีปัญหาในเรื่องนี้
หลังจากฉีดวัคซีน MMR บุคคลอาจมีอาการดังนี้

อาการเล็กน้อย:
‚- ปวดแขนเนื่องจากการฉีดยา
– ไข้
– เป็นผื่นแดงในบริเวณที่ฉีด
– ‚ ต่อมบวมในแก้มหรือลำคอ
หากมีอาการเหล่านี้ โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีน และจะมีโอกาสเกิดน้อยลงเมื่อได้รับวัคซีนครั้งที่สอง

อาการปานกลาง:
‚- ชัก (กระตุกหรือตาแข็ง) มักพบร่วมกับอาการไข้
‚- ข้อต่อเจ็บและแข็งชั่วคราว ส่วนใหญ่พบในสตรี หรือวัยรุ่น
‚- ปริมาณเกล็ดเลือดต่ำชั่วคราว ซึ่งอาจส่งผลให้มีอาการเลือดออกหรือฟกช้ำผิดปกติผื่นทั่วตัว

อาการรุนแรงเกิดขึ้นน้อยมาก:
‚- หูหนวก
‚- ชักระยะยาว หมดสติ หรือระดับการรู้สึกตัวต่ำ
‚- สมองถูกทำลาย

อาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากได้รับวัคซีนนี้ ได้แก่
‚- บางคนอาจเป็นลมหลังจากให้การรักษา รวมถึงการฉีดวัคซีน การนั่งหรือเอนหลังเป็นเวลาประมาณ 15 นาที อาจช่วยป้องกันการเป็นลมและการบาดเจ็บที่เกิดจากการหกล้ม แจ้งผู้ให้บริการของคุณทราบ หากคุณรู้สึกเวียนหัว หรือการมองเห็นเปลี่ยนแปลงไป หรือมีเสียงในหู
-‚ บางคนอาจเจ็บไหล่ ซึ่งอาจร้ายแรงกว่าและยาวนานกว่าการเจ็บทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการฉีดยา อาการนี้แทบจะไม่เกิดขึ้นเลย
-‚ การรักษาด้วยยาใด ๆ สามารถก่อให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้ มีการประมาณการว่าอาการแพ้วัคซีนดังกล่าวเกิดขึ้น 1 ในล้านครั้ง และอาจเกิดขึ้นไม่กี่นาทีหรือไม่กี่ชั่วโมงหลังจากฉีดวัคซีน
เมื่อให้ร่วมกับยาใด ๆ มีโอกาสน้อยมากที่วัคซีนจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บร้ายแรงหรือเสียชีวิต

5. ควรทำอย่างไรหากเกิดปัญหาร้ายแรง

ฉันควรจะพิจารณาอะไร
‚- พิจารณาทุกเรื่องที่ทำให้คุณกังวล เช่น สัญญาณของอาการแพ้รุนแรง มีไข้สูงมาก หรือพฤติกรรมที่ผิดปกติ
สัญญาณของอาการแพ้รุนแรงอาจได้แก่ ลมพิษ หน้าและคอบวม หายใจลำบาก หัวใจ เต้นเร็ว เวียนหัว และอ่อนเพลีย อาการเหล่านี้มักเริ่มมีตั้งแต่ได้รับวัคซีนไม่กี่นาทีจนถึงไม่กี่ชั่วโมง

Posted in Health Knowledge TH by admin | Tags: