Doctor's Search

หมวดหมู่: Health Knowledge TH

ธันวาคม 28, 2021

คําแนะนําสําหรับประชาชน ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง เฝ้าระวังตนเองช่วงหลังปีใหม่

1. สังเกตอาการ และเฝ้าระวัง 14 วัน
2. เลี่ยง การรวมกลุ่มพูดคุย ทานอาหาร ไม่ไปสถานที่เสี่ยง
3. ปฏิบัติตามมาตรการ ป้องกันตัวเองขั้นสูงสุด สวมหน้ากาก ล้างมือ ระยะห่าง
4. ขอความร่วมมือ ให้พนักงานปฏิบัติงานที่บ้าน Work From Home 14 วัน หรือแบ่งช่วงเวลาทํางาน
5. ตรวจ ATK ก่อนเข้าทํางาน สัปดาห์แรกให้ตรวจ 2 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 3 วัน

ขอขอบคุณข้อมูลจากกรมควบคุมโรค

Posted in Health Knowledge TH by admin
ธันวาคม 8, 2021

“เตรียมความพร้อมก่อนฉีด Moderna”
กับแนวทางการฉีดวัคซีนที่หลายคนสงสัย
💉💉แนวทางการฉีดวัคซีนทางเลือก Moderna ระยะเวลาในการฉีดวัคซีนอาจมีการปรับเปลี่ยนได้ในอนาคต
หากมีความประสงค์ จะฉีดวัคซีนนอกเหนือจากแนวทางการฉีดวัคซีนของ รพ. กรุณาปรึกษาแพทย์
❗️ ❗️ หมายเหตุ : สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่พร้อมกับวัคซีนป้องกันโควิดได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
☎️ 0-2975-6700 ต่อ 2227,1110

Posted in Health Knowledge TH by admin
ธันวาคม 7, 2021

โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ
– โรคไข้หวัดใหญ่
– โรคปอดอักเสบ
การป้องกัน
• พักผ่อนให้เพียงพอ
• ล้างมือบ่อย ๆ
• ไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น
• สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกครั้ง

โรคติดต่อที่สําคัญอื่นๆ
– โรคหัด
– โรคมือ เท้า ปาก
การป้องกัน
ผู้ปกครองหมั่นสังเกตความผิดปกติ ของเด็ก ๆ ถ้าพบอาการป่วยให้แยก ออกจากเด็กปกติทันทีรีบไปพบแพทย์และหยุดเรียน จนกว่าจะหายเป็นปกติ

โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ํา
– โรคอุจจาระร่วง
การป้องกัน
• ทานอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตอย่างปลอดภัย
• ดื่มน้ำที่สะอาด
• รับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด

ภัยสุขภาพ
• การเสียชีวิตเนื่องจากอากาศหนาว
• การขาดอากาศหายใจจากการ สูดดมก๊าซพิษ จากอุปกรณ์ที่ใช้ เพิ่ม ความอบอุ่นร่างกาย

Posted in Health Knowledge TH by admin
พฤศจิกายน 3, 2021

โรคและภัยสุขภาพที่มากับน้ําท่วม

โรดระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม
โรคตาแดง
โรคระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคอาหารเป็นพิษ โรคอุจจาระร่วง
โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ
ภัยสุขภาพจากแมลง สัตว์ กัด ต่อย หรือ อุบัติเหตุจากการจมน้ำ ไฟดูด ไฟช็อต
โรคน้ำกัดเท้า

ข้อมูล : กรมควบคุมโรค

Posted in Health Knowledge TH by admin
กันยายน 15, 2021

ข้อควร ปฏิบัติหลังกลับถึงบ้าน ช่วยลดเสี่ยงโควิด-19
1. ถอดและทิ้ง หน้ากากอนามัย (ควรแยกออกจากขยะประเภทอื่น)
หน้ากากผ้าควรรีบซัก และตากในทันที
2. ล้างมือถูกสบู่ ให้สะอาด นาน 20 วินาที
3. แยกตะกร้าเสื้อผ้าที่ใช้แล้ว เพราะอาจปนเปื้อนเชื้อโรค จากเสื้อผ้าอื่นๆ
4. อาบน้ำ สระผมและสวมใส่เสื้อผ้า ที่สะอาด
5. กินร้อน ช้อนตัวเอง
6. หมั่นทํา ความสะอาด ของใช้ส่วนตัว
ขอขอบคุณ กระทรวงสาธารณสุข

Posted in Health Knowledge TH by admin
สิงหาคม 15, 2021

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ประชาชนตระหนักและให้ความสำคัญกับการป้องกันตนเอง เจลล้างมือหรือสเปรย์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้อย่าง
แพร่หลาย กรมอนามัยจึงแนะนำการเลือกใช้และวิธีการการใช้แอลกอฮอล์ในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคบนผิวหนัง และมีข้อควรระวัง ดังนี้
ข้อแนะนำในการเลือกใช้และเก็บรักษา
1. สำหรับประเทศไทย กำหนดให้แอลกอฮอล์ที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโควิด 19 ต้องมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อย่างน้อยร้อยละ 70 โดยปริมาตร
2. เลือกใช้เจลแอลกอฮอล์หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ที่มีฉลากติดไว้ชัดเจน ไม่หมดอายุ เมื่อเปิดใช้มีกลิ่นเฉพาะของแอลกอฮอล์
3. ควรบีบเจลหรือสเปรย์แอลกอฮอล์ลงในฝ่ามือ แล้วลูบให้ทั่วฝ่ามือหลังมือและนิ้วมือ ทิ้งไว้ 20-30 วินาที จนแอลกอฮอล์ระเหยแห้ง
4. เก็บรักษาเจลแอลกอฮอล์ สเปรย์แอลกอฮอล์ ไว้ในอุณหภูมิปกติ โดยปิดฝาภาชนะให้สนิท เพื่อป้องกัน แอลกอฮอล์ระเหย

ข้อควรระวัง
1. ไม่ควรสเปรย์แอลกอฮอล์บริเวณที่มีเปลวไฟ เนื่องจากแอลกอฮอล์สามารถติดไฟได้
2. ไม่ควรแบ่งแอลกอฮอล์สำหรับการฆ่าเชื้อ ใส่ในขวดน้ำ เพราะอาจมีผู้เข้าใจผิดว่าเป็นน้ำดื่มได้
3. ไม่ควรเก็บแอลกอฮอล์ไว้ในรถที่จอดตากแดด เพราะในรถอุณหภูมิสูงจะทำให้แอลกอฮอล์ระเหยและประสิทธิภาพลดลงจนไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้
4. ไม่ฉีดสเปรย์แอลกอฮอล์ในที่แคบ
5. ไม่ควรใช้เจลหรือสเปรย์แอลกอฮอล์บริเวณผิวบอบบาง เช่น ใบหน้า รอบดวงตา บริเวณที่ ผิวอักเสบหรือมีบาดแผล เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคือง และ แสบร้อนบริเวณดังกล่าวได้

ขอขอบคุณ ข้อมูลจากกรมอนามัย

Posted in Health Knowledge TH by admin
กรกฎาคม 21, 2021

พักรอดูสังเกตอาการที่โรงพยาบาลหรือจุดที่ฉีดวัคซีน 30 นาทีอย่างเคร่งครัด อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน ที่อาจเกิดขึ้น เช่น

  1. อาการไม่รุนแรง สามารถหายได้เองภายใน 3 วัน เป็นอาการทั่วๆ เช่นมีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ หรือปวด บวม แดง คันหรือซ้ำบริเวณที่ฉีดยา อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบายตัว ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หรือมีอาการชาเฉพาะที่
  2. อาการรุนแรง พบได้ไม่บ่อยหรือพบได้น้อยเช่น มีก้อนบริเวณที่ฉีดยา เวียนศีรษะ มึนงง ใจสั่น  ปวดท้อง อาเจียน ปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชักหมดสติ อาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล
  3. อาการแพ้วัคซีน เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง ความดันตก หลอดลมตีบ หายใจลำบาก มีผื่นขึ้นตามตัว หากพบว่ามีอาการรุนแรง หลังการฉีดวัคซีนควรรีบพบแพทย์ทันที

พยายามอย่าเกร็งแขนข้างที่ฉีดวัคซีน หรือใช้แขนยกของหนักๆ อย่างน้อย 2 วัน

ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมาก ให้รับประทานยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม 1 เม็ด และรับประทานซ้ำได้โดยห่างกัน 6 ชั่วโมง (ห้ามรับประทานยาพวก Brufen, Arcoxia, Celebrex เด็ดขาด)

เมื่อกลับบ้านแล้วยังต้องสังเกตอาการของตัวท่านเองต่ออีก 48-72 ชั่วโมง หากพบอาการผิดปกติที่รุนแรง เช่น ชาครึ่งซีก แขนขาอ่อนแรงปากเบี้ยว ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

Posted in Health Knowledge TH by admin
มิถุนายน 12, 2021


ตรวจสอบร่างกาย
– ไม่อดนอน หลับให้เพียงพอ
– เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และชา-กาแฟ
– ต้องไม่มีอาการไข้ หรืออาการเจ็บป่วย
– สองวันก่อนฉีด และหลัง งดออกกำลังกายหนัก

แจ้งแพทย์ก่อนฉีด
– โรคประจำตัว
– ประวัติการแพ้ยา หรือวัคซีน
– การตั้งครรภ์
– ข้อมูลอื่นๆ ที่แพทย์ควรทราบ

สิ่งสำคัญ (เพิ่มเติม)
– ก่อนออกจากบ้านอย่าลืมบัตรประชาชน
– วันเวลานัดการฉีด
– รักษามาตรการป้องกันพื้นฐานอย่างเคร่งครัด คือ สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง พกเจลแอลกอฮอล์
– วันที่ฉีดควรกินน้ำอย่างน้อย
500-1,000 ซีซี
– ฉีดแขนข้างที่ไม่ค่อยถนัด และหลังฉีดสองวัน อย่าใช้แขนข้างนั้น อย่าเกร็งแขนตอนยกของหนัก
– หลังฉีดแล้ว เจ้าหน้าที่จะให้รอดูอาการในบริเวณที่ฉีด 30 นาที

– ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมาก สามารถกิน ยาพาราเซตามอลขนาด 500 มก. ครั้งละหนึ่งเม็ด กินซ้ำได้ถ้าจำเป็น แต่ให้ห่าง 6 ชั่วโมง
– ห้ามกินยาพวก Brufen, Arcoxia,Celebres เด็ดขาด

ที่มา กรมอนามัย

Posted in Health Knowledge TH by admin
มีนาคม 4, 2021

ตรวจหาเชื้อ COVID-19 Real-time PCR
การตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส COVID-19 ที่ทางองค์การอนามัยโลกแนะนำ คือ วิธี Real-time PCR เนื่องจากมีความไวและความจำเพาะสูง ทราบผลภายใน 24 ชั่วโมง* และสามารถตรวจจับเชื้อไวรัสในปริมาณน้อยๆได้ ในรูปแบบของสารพันธุกรรม ไม่ว่าจะเชื้อเป็น หรือเชื้อตาย โดยเก็บจากสารคัดหลั่งทางเดินหายใจส่วนบนของผู้สงสัยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรค เพื่อการรักษาที่รวดเร็ว ตั้งแต่ระยะแรกของการเกิดโรค

 

ข้อดีของการตรวจหาเชื้อ COVID-19 แบบ Real-time PCR
1.ตรวจหาเชื่้อ Covid-19 ได้แม่นยำ
2.เป็นการตรวจหาเชื้อ COVID-19 โดยตรง
3.สามารถตรวจจับเชื้อไวรัสในปริมาณน้อยๆ

* ระยะเวลารอผลตรวจหาเชื้อ COVID-19 ขึ้นอยู่กับปริมาณการตรวจของผู้ใช้บริการในแต่ละวัน

ราคาแพ็กเกจตรวจหาเชื้อ COVID-19 แบบ RT-PCR

Posted in Health Knowledge TH by admin
โรคมือเท้าปาก โรคระบาดในเด็กที่ต้องระวัง
กุมภาพันธ์ 3, 2021


โรคมือเท้าปากคืออะไร
โรคมือเท้าปาก เป็นโรคติดต่อที่พบบ่อยในเด็กโดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี มักมีการระบาดช่วงฤดูฝน สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเตอโรไวรัส มีหลายสายพันธุ์ ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง กรณีที่มีสมองอักเสบร่วมด้วย มักเกิดจากเชื้อเอนเตอโรไวรัส 71 หรือ อีวี 71 มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้

โรคมือเท้าปากติดต่อได้อย่างไร
เชื้อ ไวรัสแพร่ผ่านทางระบบทางเดินอาหารและการหายใจ สามารถติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วย สามารถติดต่อโดยอ้อมจากการสัมผัสผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู น้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ โรคมือเท้าปากมักระบาดในโรงเรียน ชั้นอนุบาลเด็กเล็ก หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก โรคมีระยะฟักตัวประมาณ 1 สัปดาห์ จึงสามารถติดต่อกันได้โดยที่ยังไม่แสดงอาการ

อาการของโรคมือเท้าปากเป็นอย่างไร
เด็กที่เป็นโรคมือเท้าปาก มีอาการไข้ เจ็บปาก น้ำลายไหล กินอาหารได้น้อย เนื่องจากมีแผลที่กระพุ้งแก้มและเพดานปาก มีผื่นเป็นจุดแดงหรือตุ่มน้ำใสที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า รอบก้นและอวัยวะเพศ อาจมีผื่นตามลำตัว แขนและขาได้ มักมีอาการประมาณ 2-3 วันและดีขึ้นจนหายใน 1 สัปดาห์ ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง บางรายอาจมีภาวะขาดน้ำจากกินอาหารและน้ำน้อยลง
โรคมือเท้าปากโดยทั่วไปไม่น่ากลัว สามารถหายป่วยได้เอง ส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรง มักเกิดจากเชื้ออีวี 71 มีอาการสมองอักเสบร่วมกับระบบหายใจและระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลว เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว เด็กที่มีอาการรุนแรงมักมีไข้สูง ซึม อ่อนแรง มือสั่น เดินเซ อาเจียนมาก หายใจหอบ และชัก หากพบอาการเหล่านี้ ควรรีบพาพบแพทย์โดยด่วน

โรคมือเท้าปากรักษาได้อย่างไร
โรคมือเท้าปากยังไม่มียารักษาจำเพาะ หลักการรักษาเป็นการรักษาตามอาการ ให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาชาเฉพาะที่สำหรับแผลในปาก ดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อชดเชยภาวะขาดน้ำ เด็กที่มีอาการรุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อนจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่าง ใกล้ชิด

โรคมือ-เท้า-ปาก ป้องกันได้อย่างไร
ยัง ไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ การป้องกันที่สำคัญคือ แยกผู้ป่วยที่เป็นโรคไม่ให้ไปสัมผัสกับเด็กคนอื่น ผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กควรหมั่นล้างมือ เพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อไปยังเด็กคนอื่น หมั่นทำความสะอาดของเล่นและสภาพแวดล้อมทุกวัน การทำความสะอาดโดยใช้สบู่ ผงซักฟอกหรือน้ำยาทำความสะอาดทั่วไปสามารถกำจัดเชื้อได้ ควรระมัดระวังความสะอาดของน้ำ อาหารและสิ่งของที่เด็กอาจเอาเข้าปาก โรงเรียนไม่ควรรับเด็กป่วยเข้าเรียนจนกว่าจะหายดีเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานที่ป่วยไปพบแพทย์ ให้การรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ แจ้งโรงเรียนและเด็กควรหยุดเรียนจนกว่าจะหาย ใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน โรคนี้หายได้เอง แต่ควรเฝ้าระวังอาการซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายของภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้น

Posted in Health Knowledge TH by admin