Doctor's Search

ปี: 2021

กรกฎาคม 15, 2021

คณะผู้บริหาร แพทย์ พยาบาล พนักงานและเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมพิธีไหว้ศาลพระพรหมและศาลคุณตาคุณยาย เนื่องในวันครบรอบการก่อตั้งโรงพยาบาล ปีที่ 21 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา

Posted in News & Information TH by admin
มิถุนายน 12, 2021


ตรวจสอบร่างกาย
– ไม่อดนอน หลับให้เพียงพอ
– เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และชา-กาแฟ
– ต้องไม่มีอาการไข้ หรืออาการเจ็บป่วย
– สองวันก่อนฉีด และหลัง งดออกกำลังกายหนัก

แจ้งแพทย์ก่อนฉีด
– โรคประจำตัว
– ประวัติการแพ้ยา หรือวัคซีน
– การตั้งครรภ์
– ข้อมูลอื่นๆ ที่แพทย์ควรทราบ

สิ่งสำคัญ (เพิ่มเติม)
– ก่อนออกจากบ้านอย่าลืมบัตรประชาชน
– วันเวลานัดการฉีด
– รักษามาตรการป้องกันพื้นฐานอย่างเคร่งครัด คือ สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง พกเจลแอลกอฮอล์
– วันที่ฉีดควรกินน้ำอย่างน้อย
500-1,000 ซีซี
– ฉีดแขนข้างที่ไม่ค่อยถนัด และหลังฉีดสองวัน อย่าใช้แขนข้างนั้น อย่าเกร็งแขนตอนยกของหนัก
– หลังฉีดแล้ว เจ้าหน้าที่จะให้รอดูอาการในบริเวณที่ฉีด 30 นาที

– ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมาก สามารถกิน ยาพาราเซตามอลขนาด 500 มก. ครั้งละหนึ่งเม็ด กินซ้ำได้ถ้าจำเป็น แต่ให้ห่าง 6 ชั่วโมง
– ห้ามกินยาพวก Brufen, Arcoxia,Celebres เด็ดขาด

ที่มา กรมอนามัย

Posted in Health Knowledge TH by admin
มิถุนายน 8, 2021

ประกาศเรื่อง การรับวัคซีน COVID-19
เรียน ผู้ลงทะเบียนรับวัคซีน COVID-19

เนื่องจาก รพ.กรุงสยามเซนต์คาร์ลอส ได้มีการจัดเตรียมสถานที่และบุคลากร ให้กับท่านเรียบร้อยแล้ว แต่ขณะนี้ ทางรพ. ได้รับการจัดสรรวัคซีน COVID-19 เพียงพอสำหรับท่านที่มีการนัดหมายตั้งแต่วันที่ 7-11 และ 14-18 มิถุนายน 2564

หมายเหตุ
1. เมื่อทาง รพ. ได้รับการจัดสรรวัคซีนเพิ่มเติม จะแจ้งให้ท่านทราบทาง Social Media ของ รพ. อีกครั้ง
2. ท่านที่มีนัดหมายภายในวันที่ 7-11 และ 14-18 มิถุนายน 2564 ให้มาตามนัดปกติ
3. คลินิกบริการวัคซีน COVID-19 เปิดให้บริการวันจันทร์ – วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 13.00 – 16.00 น. ขอให้ท่านมาก่อนเวลานัดหมาย 15 นาที

ขออภัยมา ณ โอกาสนี้

Posted in News & Information TH by admin
มีนาคม 4, 2021

ตรวจหาเชื้อ COVID-19 Real-time PCR
การตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส COVID-19 ที่ทางองค์การอนามัยโลกแนะนำ คือ วิธี Real-time PCR เนื่องจากมีความไวและความจำเพาะสูง ทราบผลภายใน 24 ชั่วโมง* และสามารถตรวจจับเชื้อไวรัสในปริมาณน้อยๆได้ ในรูปแบบของสารพันธุกรรม ไม่ว่าจะเชื้อเป็น หรือเชื้อตาย โดยเก็บจากสารคัดหลั่งทางเดินหายใจส่วนบนของผู้สงสัยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรค เพื่อการรักษาที่รวดเร็ว ตั้งแต่ระยะแรกของการเกิดโรค

 

ข้อดีของการตรวจหาเชื้อ COVID-19 แบบ Real-time PCR
1.ตรวจหาเชื่้อ Covid-19 ได้แม่นยำ
2.เป็นการตรวจหาเชื้อ COVID-19 โดยตรง
3.สามารถตรวจจับเชื้อไวรัสในปริมาณน้อยๆ

* ระยะเวลารอผลตรวจหาเชื้อ COVID-19 ขึ้นอยู่กับปริมาณการตรวจของผู้ใช้บริการในแต่ละวัน

ราคาแพ็กเกจตรวจหาเชื้อ COVID-19 แบบ RT-PCR

Posted in Health Knowledge TH by admin
โรคมือเท้าปาก โรคระบาดในเด็กที่ต้องระวัง
กุมภาพันธ์ 3, 2021


โรคมือเท้าปากคืออะไร
โรคมือเท้าปาก เป็นโรคติดต่อที่พบบ่อยในเด็กโดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี มักมีการระบาดช่วงฤดูฝน สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเตอโรไวรัส มีหลายสายพันธุ์ ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง กรณีที่มีสมองอักเสบร่วมด้วย มักเกิดจากเชื้อเอนเตอโรไวรัส 71 หรือ อีวี 71 มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้

โรคมือเท้าปากติดต่อได้อย่างไร
เชื้อ ไวรัสแพร่ผ่านทางระบบทางเดินอาหารและการหายใจ สามารถติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วย สามารถติดต่อโดยอ้อมจากการสัมผัสผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู น้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ โรคมือเท้าปากมักระบาดในโรงเรียน ชั้นอนุบาลเด็กเล็ก หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก โรคมีระยะฟักตัวประมาณ 1 สัปดาห์ จึงสามารถติดต่อกันได้โดยที่ยังไม่แสดงอาการ

อาการของโรคมือเท้าปากเป็นอย่างไร
เด็กที่เป็นโรคมือเท้าปาก มีอาการไข้ เจ็บปาก น้ำลายไหล กินอาหารได้น้อย เนื่องจากมีแผลที่กระพุ้งแก้มและเพดานปาก มีผื่นเป็นจุดแดงหรือตุ่มน้ำใสที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า รอบก้นและอวัยวะเพศ อาจมีผื่นตามลำตัว แขนและขาได้ มักมีอาการประมาณ 2-3 วันและดีขึ้นจนหายใน 1 สัปดาห์ ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง บางรายอาจมีภาวะขาดน้ำจากกินอาหารและน้ำน้อยลง
โรคมือเท้าปากโดยทั่วไปไม่น่ากลัว สามารถหายป่วยได้เอง ส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรง มักเกิดจากเชื้ออีวี 71 มีอาการสมองอักเสบร่วมกับระบบหายใจและระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลว เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว เด็กที่มีอาการรุนแรงมักมีไข้สูง ซึม อ่อนแรง มือสั่น เดินเซ อาเจียนมาก หายใจหอบ และชัก หากพบอาการเหล่านี้ ควรรีบพาพบแพทย์โดยด่วน

โรคมือเท้าปากรักษาได้อย่างไร
โรคมือเท้าปากยังไม่มียารักษาจำเพาะ หลักการรักษาเป็นการรักษาตามอาการ ให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาชาเฉพาะที่สำหรับแผลในปาก ดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อชดเชยภาวะขาดน้ำ เด็กที่มีอาการรุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อนจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่าง ใกล้ชิด

โรคมือ-เท้า-ปาก ป้องกันได้อย่างไร
ยัง ไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ การป้องกันที่สำคัญคือ แยกผู้ป่วยที่เป็นโรคไม่ให้ไปสัมผัสกับเด็กคนอื่น ผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กควรหมั่นล้างมือ เพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อไปยังเด็กคนอื่น หมั่นทำความสะอาดของเล่นและสภาพแวดล้อมทุกวัน การทำความสะอาดโดยใช้สบู่ ผงซักฟอกหรือน้ำยาทำความสะอาดทั่วไปสามารถกำจัดเชื้อได้ ควรระมัดระวังความสะอาดของน้ำ อาหารและสิ่งของที่เด็กอาจเอาเข้าปาก โรงเรียนไม่ควรรับเด็กป่วยเข้าเรียนจนกว่าจะหายดีเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานที่ป่วยไปพบแพทย์ ให้การรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ แจ้งโรงเรียนและเด็กควรหยุดเรียนจนกว่าจะหาย ใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน โรคนี้หายได้เอง แต่ควรเฝ้าระวังอาการซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายของภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้น

Posted in Health Knowledge TH by admin
ไวรัสโรต้าสำหรับลูกน้อย โดย พญ.ณัฐธิดา แสงปราสาท
มกราคม 12, 2021

โรต้า ไวรัส คืออะไร
เป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบที่กะเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งจะทำให้ท้องร่วงอย่างรุ่นแรง สามารถพบได้ในเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี

อาการของโรคโรต้า ไวรัส
1.ถ่ายเหลว เป็นน้ำ หลายรอบ
2.มีไข้สูงเกิน 38.5 – 40 องศา
3.คลื่นไส้ อาเจียน

การติดเชื้อ
ติดเชื้อได้จากการสัมผัสอุจจาระจากผู้ป่วย หรือสัมผัสสิ่งของที่มีการปนเปื้อน

การรักษา
ปัจจุบันไม่มียารักษาโรคนี้โดยเฉพาะ แต่จะเป็นการรักษาตามอาการ และการรักษาแบบประคับประคอง เช่น ให้ดื่มเกลือแร่ (ORS) เนื่องจากขาดน้ำจาการถ่ายเหลวหลายครั้ง
หากมีอาการรุ่นแรง เช่น ชีพจรเต้นเร็ว หรือปัสสาวะออกน้อย ควรได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

การป้องกันโรค
1.ดูแล รักษาความสะอาด ล้างมือบ่อยๆ (ด้วยน้ำและสบู่) โดยเฉพาะหลังการขับถ่ายและก่อนรับประทานอาหาร
2.วัคซีน ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้า โดยควรหยอดให้ครบก่อนอายุ 6 เดือน

Posted in Health Knowledge TH by admin